ทวิตเตอร์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ทางเลือกให้ผู้ใช้ควบคุมบทสนทนาบนไทม์ไลน์

กรุงเทพฯ (22 พฤศจิกายน 2562) ทวิตเตอร์เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ทั่วโลกสามารถซ่อนการตอบกลับ (hide replies) เพื่อควบคุมการสนทนาบนทวิตเตอร์และช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยและสบายใจเมื่อสนทนาบนทวิตเตอร์ ซึ่งฟีเจอร์นี้ช่วยเปลี่ยนหัวข้อหรือเปลี่ยนโทนโดยรวมของเนื้อหาในบทสนทนาที่ผู้ใช้งานได้สร้างขึ้นได้ ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ได้ทำการ ทดสอบฟีเจอร์นี้แล้วและพบว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการจัดการบทสนทนา จึงได้ดำเนินการให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ทั่วโลก

สำหรับผู้ใช้งานทุกคนสามารถเลือกซ่อนการตอบกลับการทวีตนี้ได้แล้ว โดยจะยังคงเห็นและสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการตอบกลับที่ถูกซ่อน ด้วยการกดไอคอนสีเทาที่ปรากฎอยู่บนทวีต ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เจ้าของทวีตสามารถควบคุมการสนทนาได้ ในขณะที่คนอื่นๆ ก็ยังสามารถเห็นข้อความในการสนทนานั้นได้ทั้งหมด

สิ่งที่ทวิตเตอร์ได้เรียนรู้ระหว่างทำการทดสอบฟีเจอร์นี้พบว่า ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ใช้การซ่อนการตอบกลับกับข้อความ ที่พวกเขาคิดว่า ออกนอกประเด็น ก่อกวน หรือมีเนื้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับบทสนทนา และฟีเจอร์นี้เป็นตัวเลือกใหม่ที่จะหยุด การรบกวนบทสนทนา โดย 85% ของผู้ใช้งานที่เลือกวิธีซ่อนการตอบกลับจะไม่ใช้ การบล็อกบัญชีผู้ใช้ (block) หรือการซ่อนคำ (mute)

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ต่างก็อยากรู้ว่าบุคคลสำคัญ อาทิ นักการเมืองและนักข่าว จะใช้งานฟีเจอร์ใหม่นี้อย่างไร แต่จนถึงตอนนี้ ผู้ใช้กลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้ใช้การซ่อนการตอบกลับมากเท่าไหร่นัก ขณะที่ผู้ใช้งาน 27% ในประเทศแคนาดาที่ถูกซ่อนการตอบกลับระบุว่า พวกเขาจะพิจารณาว่าควรจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ต่อไปอย่างไรในอนาคตและคิดว่าฟีเจอร์นี้เป็นวิธีจัดการบนไทม์ไลน์ คล้ายกับวิธีการซ่อนคำ (mute)

ขณะที่ทีมงานทวิตเตอร์ทราบว่าผู้ใช้งานอาจจะอยากดำเนินการอะไรบางอย่างเพิ่มเติมหลังจากกดซ่อนการตอบกลับนั้นแล้ว โดยจะยังติดตามผลการใช้งานฟีเจอร์นี้ว่า ผู้ใช้งานจะต้องการบล็อกบัญชีต่อไปด้วยหรือไม่ ในส่วนของผู้ใช้งานบางคนระบุว่า พวกเขาไม่อยากกดซ่อนการตอบกลับเนื่องจากกลัวการตอบโต้จากคนที่ถูกกดซ่อน การตอบกลับ เพราะจะมีไอคอนของฟีเจอร์นี้ ปรากฎอยู่บนทวีต 

อย่างไรก็ตามทวิตเตอร์จะยังคงรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้งานฟีเจอร์นี้ต่อไปและผลตอบรับเหล่านี้ได้นี้มาจากการใช้งาน ในช่วงแรกเท่านั้น ทวิตเตอร์คาดหวังที่จะทราบผลตอบรับของการใช้ฟีเจอร์นี้เพิ่มมากขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทั่วโลก

ทวิตเตอร์ยังคงดำเนินการในเรื่องของการควบคุมและสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับข้อบังคับการใช้พื้นที่ในการสนทนาร่วมกันอย่างต่อเนื่องและมีการทดสอบตัวเลือกใหม่ๆ เพิ่มด้วยว่าผู้ใช้สามารถตอบกลับข้อความ หรือสามารถเห็นได้บางข้อความ และกำลัง ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับบทสนทนาเพื่อศึกษาว่าการทำเช่นนี้จะนำไปสู่การสนทนาที่ดีขึ้นได้หรือไม่ ทวิตเตอร์มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยและสบายใจในการสนทนาบนทวิตเตอร์

ฟีเจอร์การซ่อนคำตอบนี้สามารถใช้ได้แล้วทั่วโลก บน iOS, แอนดรอยด์, ทวิตเตอร์ไลต์ (Twitter Lite) และ twitter.com 

###

เกี่ยวกับทวิตเตอร์ (หรือ TWTR ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก)

ทวิตเตอร์คือเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกและเป็นสิ่งที่ผู้คนกำลังพูดถึงในขณะนี้ ตั้งแต่ข่าวด่วน breaking news วงการบันเทิง กีฬา การเมือง ไปจนถึงความสนใจในชีวิตประจำวันที่สะท้อนแง่มุมเรื่องราวต่างๆ ของผู้คน เป็นแพลตฟอร์ตที่ทุกคนสามารถพูดคุยได้อย่างอิสระ รับชมไลฟ์สตรีมมิ่ง โดยทวิตเตอร์สามารถเข้าถึงได้ผ่านทาง twitter.com ซึ่งให้บริการมากกว่า 40 ภาษาทั่วโลก สามารถใช้บนอุปกรณ์มือถือผ่านทาง Twitter Lite (mobile.twitter.com) และทาง SMS สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม: about.twitter.com หรือกดติดตาม @Twitter และที่บล็อก South East Asia blog หรือดาวน์โหลดแอปทวิตเตอร์และเพอริสโคปได้ที่ twitter.com/download และ periscope.tv.

About naruethai

Check Also

Facebook อัปเดตฟีเจอร์ ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมสิ่งที่แชร์และค้นพบบนแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันนี้ Facebook แนะนำเครื่องมือที่ปรับปุงใหม่เพื่อช่วยให้คุณควบคุมสิ่งที่แชร์ไปยังฟีดข่าวได้มากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าใครสามารถแสดงความคิดเห็นในโพสต์สาธารณะของคุณได้บ้าง ซึ่งคุณสามารถควบคุมกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นสำหรับโพสต์สาธารณะของคุณได้แล้ว โดยเลือกจากเมนูที่มีให้ ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ทุกคนที่เห็นโพสต์ไปจนถึงเลือกเฉพาะบุคคลและเพจที่คุณแท็ก

เอชพี พลิกโฉมประสบการณ์ลูกค้า เปิดโชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย

นำเสนอนวัตกรรมพีซีและพรินเตอร์ล้ำสมัย ผ่านประสบการณ์โต้ตอบแบบอินเทอร์แอคทีฟ เอชพี อิงค์ เผยโฉม HP virtual showroom โชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับลูกค้า ครอบคลุม 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะนำลูกค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ทันสมัย สัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายตามความต้องการใช้งานที่แตกต่าง