- POWER9 เป็นระบบเบื้องหลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “ซัมมิท” และ “เซียร์รา” ที่ Google และกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ใช้
- ประสิทธิภาพการทำงานภายใต้เฟรมเวิร์คแบบ Deep Learning สูงกว่า x86 เกือบ 4 เท่า [1]
- ออกแบบเพื่อรองรับเวิร์คโหลดด้าน AI
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 26 พฤศจิกายน 2561: ไอบีเอ็มเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Power Systems ที่มาพร้อมระบบประมวลผล POWER9 ใหม่ล่าสุด สร้างขึ้นเพื่อรองรับเวิร์คโหลดด้าน AI โดย POWER9 สามารถร่นเวลาการฝึกระบบภายใต้เฟรมเวิร์คแบบ Deep Learning ได้เกือบ 4 เท่า [2] ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างแอพลิเคชัน AI ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
POWER9 คือหัวใจสำคัญของ “ซัมมิท” (Summit) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุดในโลกของกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ที่ได้รับการจัดอันดับโดย Top500 ให้เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก และปัจจุบันถูกนำมาใช้โดย Google
เทคโนโลยี POWER9 ใหม่ได้รับการออกแบบมาสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยมาพร้อมระบบที่มีความปลอดภัยสูงสุด สามารถรองรับเวิร์คโหลดระดับ mission critical และเฟรมเวิร์คงาน AI ที่ได้รับความนิยมต่างๆ เช่น Chainer, TensorFlow และ Caffe รวมทั้งฐานข้อมูลแบบแอคเซเลอเรท เช่น Kinetica ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสามารถสร้างแอพพลิเคชันได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแอพด้าน Deep Learning ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แอพด้านการตรวจหาการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ หรือแอพด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ
“Google รู้สึกตื่นเต้นกับความก้าวหน้าของไอบีเอ็มในการพัฒนาเทคโนโลยี POWER รุ่นล่าสุด” นายบาร์ท ซาโน รองประธานของ Google Platforms กล่าว “POWER9 OpenCAPI Bus และหน่วยความจำที่สูงมากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมให้แก่ศูนย์ข้อมูล Google”
“ด้วยประสบการณ์ในการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาอย่างยาวนาน วันนี้ไอบีเอ็มได้สร้างระบบสำหรับเวิร์คโหลดด้าน AI และค็อกนิทิฟที่จะมาปฏิรูปวงการ” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “นอกจากจะเป็นการสร้างศักยภาพให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีระบบประมวลผลเร็วที่สุดในโลกแล้ว POWER9 Systems ของไอบีเอ็มยังได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรทั่วโลกสามารถขยายการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยปฏิรูปธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม”
“Deep Learning คือรูปแบบของแมชชีนเลิร์นนิงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเป็นการถอดรหัสข้อมูลและกระบวนการนับล้านรายการ เพื่อตรวจหาแง่มุมที่สำคัญที่สุด” นายสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจระบบคอมพิวเตอร์สำหรับคลาวด์แพลตฟอร์ม บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ไอบีเอ็มได้เริ่มออกแบบชิพ POWER9 เมื่อ 4 ปีก่อนเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ในการจัดการข้อมูลที่หลั่งไหลอย่างอิสระ รวมถึงข้อมูลจากเซ็นเซอร์และอัลกอริธึมสำหรับเวิร์คโหลดที่เน้นงานด้าน AI และ Deep Learning บน Linux โดยไอบีเอ็มเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ผนวกรวมนวัตกรรมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ก้าวล้ำเข้าด้วยกัน พร้อมด้วยนวัตกรรมโอเพนซอร์สล่าสุด”
###