เชอร์ไมน์ กอทเฟร็ดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย การขับเคลื่อนธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายในการยกระดับให้ธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถสนับสนุนผลิตภัณฑ์มวลในประเทศได้ถึง 50% เพิ่มจาก 36% ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ค.ศ. 2021-25) โดยในปัจจุบันมีธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3 ล้านราย ซึ่งคิดเป็น 99.7% ของธุรกิจในประเทศไทย และมีการจ้างงานกว่า 10 ล้านคน

อย่างไรก็ดี ธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างหนัก ทั้งจากการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลก สืบเนื่องจากการขาดองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ประสิทธิภาพ และความสามารถในการรองรับการขยายตัวของธุรกิจ ส่วนผู้ที่มีองค์ความรู้อยู่บ้าง ก็ยังไม่เข้าใจถึงขั้นตอนในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้กับธุรกิจของตนเอง ด้วยความตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการแข่งขันของบริษัท รัฐบาลจึงกำหนดให้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในอนาคต ตามกลยุทธ์ไทยแลนด์ 4.0 โดยมีการจัดสรรเงินลงทุนเพื่อช่วยให้กลุ่มธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูงและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับโลก

การก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มุ่งส่งเสริมแรงงานและอุตสาหกรรมของประเทศในอนาคต โดยมีเป้าหมายในการสร้างให้ไทยเป็นชาติที่มีรายได้ขั้นสูง ผ่านกลยุทธ์การให้ความสำคัญกับการใช้นวัตกรรมในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตทั้ง 10 ประเภท การปรับปรุงอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งในปัจจุบัน เช่น รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงอุตสาหกรรมรุ่นใหม่อย่าง อุตสาหกรรมอวกาศและหุ่นยนต์ สิ่งนี้ยังนำไปสู่การพัฒนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) มูลค่า 45 พันล้านดอลลาร์ (หรือ 1.5 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการลงทุนจำนวนมหาศาลจากบริษัทต่างชาติที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและแนวทางของบริษัทต่างชาติอาจช่วยให้ประเทศไทยสามารถก้าวผ่านภาวะขาดแคลนทักษะการทำงานที่กำลังเผชิญอยู่ได้

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment : BOI) ยังได้ประกาศถึงรางวัลล่อใจจากกิจกรรมทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งรางวัลล่อใจดังกล่าวนำเสนอให้ทั้งการลงทุนโครงการใหม่และการลงทุนโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยมีจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในปัจจุบัน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ดังกล่าว ยังรวมถึงโคบอท (Cobot) หรือหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ โดยโคบอทถือเป็นเครื่องมืออัตโนมัติที่มีประโยชน์มาก ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยไม่ต้องอาศัยต้นทุนการบูรณาการระบบมากมาย โคบอทแตกต่างจากหุ่นยนต์แบบดั้งเดิม เพราะมีฟีเจอร์การทำงานด้านความปลอดภัยติดตั้งมาแล้วในตัว ทำให้มีความปลอดภัยสำหรับมนุษยในการทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับโคบอทโดยไม่จำเป็นต้องมีรั้วกั้น (ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง) การออกแบบเชิงสรีรศาสตร์ของโคบอทยังทำให้มีน้ำหนักเบาและขนาดกะทัดรัด และช่วยให้โคบอททำงานได้แม้อยู่ในพื้นที่แคบและจำกัด

โคบอทยังเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน ตั้งโปรแกรมได้ง่ายและใช้งานง่าย ด้วยอินเตอร์เฟซที่เข้าใจง่ายทำให้การตั้งโปรแกรมทำงานโคบอทเป็นเรื่องที่เรียบง่ายจนแม้แต่พนักงานที่มีทักษะต่ำก็ยังใช้งานได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบัน มีนโยบายหลายฉบับที่ส่งเสริมธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการสนับสนุนทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นำเสนอการกู้ยืมอัตราถูก 8 ล้านบาทสำหรับธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำลังวางแผนปรับใช้ระบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และระบบออนไลน์ เพื่อยกระดับความสามารถในการผลิต

การรักษาแรงงานทักษะสูง

เพื่อการส่งเสริมการใช้งานระบบอัตโนมัติให้แพร่หลายทั่วประเทศ ทำให้หลายฝ่ายตื่นตัวในการสร้างทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องให้แก่แรงงาน รัฐบาลไทยจึงจับมือเป็นพันธมิตรกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Manufacturing Automation and Robotics Academy : MARA) โดยมีการดำเนินงาน 3 ระยะตลอดเวลา 10 ปี แผนการดำเนินงานของสถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน การยกระดับทักษะ และการฝึกอบรมสายอาชีพเพื่อการใช้งานเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมสำหรับการดำเนินงานระดับตติยภูมิ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (Institute of Field Robotics : FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ยังได้นำเสนอหลักสูตรการศึกษาสาขาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ

ปัจจุบัน มีองค์กรและชุมชนในประเทศไทยมากมายซึ่งประกอบด้วยซัพพลายเออร์และนักพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติ อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (Thai Automation and Robotics Association : TARA) และ สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย (Thai Robotics Society) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเรื่องนี้ สำหรับภาคเอกชน ก็มีการดำเนินงานตามบทบาทในการนำเสนอโซลูชั่นนวัตกรรมที่เอื้อประโยชน์แก่บรรดาผู้ผลิต ยกตัวอย่างเช่น ในการให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจในการฝึกอบรมและการใช้งานโคบอท ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots : UR) ได้นำเสนอหลักสูตรการเรียนผ่านระบบออนไลน์ฟรีสำหรับทุกคน บริษัทยังจะเริ่มเปิดสอนหลักสูตร UR Collaborative Robotics Course ที่สิงคโปร์ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมุ่งเป้าหมายที่การเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้คนด้วยองค์ความรู้และทักษะในการใช้งานและดูแลรักษาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ด้วยตนเอง

การสร้างสรรค์ธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแบบอัจฉริยะ

ภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้ร่วมกันพยายามกระตุ้นการเติบโตและการพัฒนาของระบบอัตโนมัติ ในขณะที่ประเทศกำลังมุ่งหน้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีขั้นสูง อย่างโคบอท สามารถช่วยให้ธุจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเติบโตขึ้นได้แม้จะเกิดความท้าทายทางเศรษฐกิจ ช่วยลดต้นทุน ยกระดับทักษะของแรงงาน และเพิ่มรายได้ของบริษัท สิ่งนี้จะช่วยสร้างธุรกิจที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

###

About naruethai

Check Also

ผลการศึกษาฉบับใหม่ของ Qualtrics ระบุว่า คนทำงานมากกว่า 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงรู้สึกไม่สะดวกที่จะกลับไปทำงานในที่ทำงาน

ผลการศึกษาทางธุรกิจเรื่อง “การกลับไปทำงานในที่ทำงาน” ซึ่งเป็นผลการศึกษาของคนทำงานในประเทศไทยและมาเลเซีย เกี่ยวกับความมั่นใจในการกลับไปใช้ชีวิตในสังคม กรุงเทพ, 16 มิถุนายน 2563 – ควอทริคซ์  (Qualtrics) ผู้นำด้านประสบการณ์ลูกค้าและผู้สร้างการจัดการประสบการณ์ ประกาศผลการศึกษาเรื่อง “การกลับไปทำงานในที่ทำงาน” (Return …

โคบอทส์ หุ่นยนต์ผู้ช่วยด้านสุขภาพ

โดยนายดาร์เรลล์อดัมส์  หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย   บริษัท  ยูนิเวอร์ซัลโรบอท   โควิด -19  เป็นโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลก และสร้างความประหลาดใจไปพร้อมๆ กับระบบการดูแลสุขภาพที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยากที่สุดอย่างกระทันหัน  บุคลากรทางการแพทย์กำลังทำงานตลอดเวลา และเป็นแนวหน้าที่ต้องทำงานหนัก ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในหลาย ๆ …