ม.ศิลปากร จับมือกสิกรไทย ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ ด้วยวิถีชีวิตที่ง่ายขึ้น

มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย จับมือธนาคารกสิกรไทย พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยกว่า 25,000 คน

 

 

ผศ.ดร.วันชัย สุทธะนันท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิถีชีวิตที่ง่ายขึ้น (Enhancing creativity by leading a simpler life) เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานทั้งในส่วนของงานวิชาการ และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดโครงการ SU CHANGE ด้วยแนวคิดที่ว่าความคิดสร้างสรรค์จะมาควบคู่กับแรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นกลุ่มที่เติบโตมาพร้อมกับความเจริญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคดิจิทัล เป็นกลุ่มที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และอยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสามารถติดต่อได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้น platform ของการให้บริการจึงต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย และสื่อสารกับคนในยุคดิจิทัลได้ และด้วยประสบการณ์ใหม่ที่นักศึกษาได้สัมผัส จะนำไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรม รวมไปถึงการสร้างธุรกิจ start up ซึ่งจะเจริญเติบโตไปพร้อมกัน เป็นการเตรียมคนเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 อย่างแท้จริง

ในส่วนของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนหรือสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนใหม่ ๆ ที่ตอบสนองต่อชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น หลักสูตรนวัตกรรมและการสร้างสรรค์เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ หลักสูตรวิทยาการข้อมูล เป็นต้น พร้อมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาเป็นลำดับแรกตามนโยบาย Student First รวมถึงการพัฒนา Co-learning space และ Co-working space สำหรับการเรียนรู้และการทำงานร่วมกันของนักศึกษา การจัด Maker space ให้นักศึกษาได้ทดลองสร้างผลงานตามแนวคิดของตัวเองผ่านอุปกรณ์ทันสมัย เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ (3-D printer) การจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย เข้ามาช่วยสนับสนุนโครงการ SU CHANGE ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยให้การสนับสนุน 3 ด้านด้วยกัน คือ

  1. สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้สามารถลงทะเบียน ดูตารางเรียน การขอเอกสารต่าง ๆ และยังมีการแจ้งเตือนข่าวสารจากมหาวิทยาลัย ประวัติการทำกิจกรรม การติดตามสถานะการขอเอกสารต่าง ๆ การขอความช่วยเหลือ (SOS) ดูตำแหน่งรถรางไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและบุคลากรกว่า 25,000 คน และยังส่งเสริมให้มีการชำระเงินด้วยคิวอาร์ โค้ดภายในศูนย์อาหาร และร้านค้าในบริเวณรอบมหาวิทยาลัยแทนการใช้เงินสด (Cashless Society)
    นอกจากนี้ หอพัก ก็เป็นอีกโครงสร้างพื้นฐานหนึ่งที่ทางมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการให้บริการในด้านอื่น ๆ ปัจจุบันมีหอพักนักศึกษากว่า 1,300 ห้อง จึงมีการพัฒนาระบบหอพักเป็น feature หนึ่งในแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาสามารถดูสถานะห้องพัก จองห้องพัก ชำระค่าห้องพัก ติดตามข่าวสาร กิจกรรม สิทธิในการเข้าอยู่ต่อ การโหวตเลือกประธานหอพัก แจ้งงานซ่อมพร้อมแนบภาพอุปกรณ์ชำรุด เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากจะใช้กับหอพักนักศึกษาแล้ว จะนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านพักของอาจารย์และบุคลากรที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีด้วย
  2. ให้การสนับสนุนการจัดสร้างพื้นที่ Co-Learning Space ในการจัดกิจกรรม สร้างผลงาน แสดงผลงาน และมีห้องประชุมย่อยให้กับนักศึกษา
  3. ให้มุมมองในการทำธุรกิจแก่นักศึกษา โดยช่วยแนะแนวทางการนำผลงานออกแบบมาสู่ธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษามีอาชีพในสไตล์ของตัวเองในอนาคต

ผศ.ดร. วันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย เดิมคือ โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร ซึ่งก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ และมีวิสัยทัศน์เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ใน 3 วิทยาเขต คือ วังท่าพระ วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังเปิดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร และวิทยาลัยนานาชาติ มีนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร รวมทั้งสิ้นกว่า 25,000 คน

About TechTalkThai Team

Check Also

ผลการศึกษาฉบับใหม่ของ Qualtrics ระบุว่า คนทำงานมากกว่า 60% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงรู้สึกไม่สะดวกที่จะกลับไปทำงานในที่ทำงาน

ผลการศึกษาทางธุรกิจเรื่อง “การกลับไปทำงานในที่ทำงาน” ซึ่งเป็นผลการศึกษาของคนทำงานในประเทศไทยและมาเลเซีย เกี่ยวกับความมั่นใจในการกลับไปใช้ชีวิตในสังคม กรุงเทพ, 16 มิถุนายน 2563 – ควอทริคซ์  (Qualtrics) ผู้นำด้านประสบการณ์ลูกค้าและผู้สร้างการจัดการประสบการณ์ ประกาศผลการศึกษาเรื่อง “การกลับไปทำงานในที่ทำงาน” (Return …

โคบอทส์ หุ่นยนต์ผู้ช่วยด้านสุขภาพ

โดยนายดาร์เรลล์อดัมส์  หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย   บริษัท  ยูนิเวอร์ซัลโรบอท   โควิด -19  เป็นโรคระบาดที่แพร่ไปทั่วโลก และสร้างความประหลาดใจไปพร้อมๆ กับระบบการดูแลสุขภาพที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ยากที่สุดอย่างกระทันหัน  บุคลากรทางการแพทย์กำลังทำงานตลอดเวลา และเป็นแนวหน้าที่ต้องทำงานหนัก ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในหลาย ๆ …

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.