เซี่ยงไฮ้, จีน/ 17 ตุลาคม 2561 – ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 ภายใต้หัวข้อ “Power of the Platform” กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยได้เผยกลยุทธ์แพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ของบริษัท ที่จะช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของรัฐบาลและองค์กรธุรกิจต่างๆ และนำไปสู่นวัตกรรมและการเติบโตในระดับที่สูงขึ้น พร้อมประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม AI + Digital Platform ที่สามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงประกาศความร่วมมือกับเขตเมืองใหม่เทียนจิน ปินไห่ นิว แอเรีย (Tianjin Binhai New Area) เพื่อสร้างเมืองอัจฉริยะ ด้วยการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มใหม่ของบริษัทอย่าง AI + Digital Platform นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวโซลูชัน Smart Campus ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการโดยบริษัทว่านเคอ (Vanke) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศจีน โดยโซลูชั่นใหม่จากหัวเว่ยจะช่วยพลิกโฉมการดำเนินธุรกิจขององค์กรเพื่อสร้างการเติบโตและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร
Power of the Platform พลังแห่งแพลตฟอร์มเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
มร. เหยียน ลี่ต้า ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ของหัวเว่ย กล่าวว่า “Digital Transformation เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบ และหลอมรวมเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เพื่อบูรณาการโลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยขับเคลื่อนแพลตฟอร์มธุรกิจของลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มไอซีที เพื่อให้บริษัทคู่ค้าสามารถผนวกรวมแอพพลิเคชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมเข้าไปในแพลตฟอร์มได้ ด้วยวิธีนี้ แพลตฟอร์มของหัวเว่ยจะทำหน้าที่เป็นเสมือน “ผืนดินอันอุดมสมบูรณ์” ที่เอื้อต่อการเติบโตของระบบนิเวศอุตสาหกรรม และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่างๆ กับคู่ค้าในระบบนิเวศของเรา”
หัวเว่ยนำเสนอแนวทาง “Digital Platform + X + Ecosystem”
กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ยังได้แนะนำแนวทาง “Digital Platform + X + Ecosystem” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้า ด้วยการใช้ Digital Platform เป็นพื้นฐาน บวกกับคุณสมบัติใหม่ ๆ (X) เช่น AI, IoT, บิ๊กดาต้า, ความปลอดภัย, ICP, วิดีโอ และแพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ผสมผสานภาคส่วนเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน
“Digital Platform ของหัวเว่ยมีข้อได้เปรียบหลัก 3 ประการคือ ครบถ้วน (Full-stack) เปิดกว้าง และรองรับธุรกิจองค์กรต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม เราได้พัฒนาโซลูชั่นแบบ Full-stack ขึ้นมา ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ เลเยอร์ IaaS และ PaaS และเลเยอร์ SaaS ร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศของเรา โดยอาศัยประโยชน์จากชิพที่เราพัฒนาขึ้นมาเอง อัลกอริธึ่มทางคณิตศาสตร์และการออกแบบสถาปัตยกรรมของเรา การใช้แพลตฟอร์มแบบ Full-Stack จะช่วยให้ลูกค้ามุ่งความสนใจไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ โดยไม่ต้องเสียทรัพยากรอันมีค่าไปกับการสร้างแพลตฟอร์มเฉพาะของตัวเอง” มร. หลู่ ฉี ประธานบริหาร ฝ่ายขายโซลูชั่นและการตลาด กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าว “หัวเว่ยให้บริการโซลูชั่นแบบต่างๆ ที่มีมาตรฐานครอบคลุมอุตสาหกรรมต่างๆ และ Digital Platform ของเราก็สามารถใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลายได้ เพราะรองรับทั้งระบบไพรเวทคลาวด์ และคลาวด์สาธารณะ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังสร้างระบบนิเวศที่เปิดกว้างที่ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ซึ่งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของเราสามารถที่จะทำงานร่วมกับของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ทำให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกใช้โซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการเฉพาะของพวกเขา”

มร. หลู่ ฉี ยังได้เสริมว่า “Digital Platform ยึดมั่นในแนวทางที่เปิดกว้างของหัวเว่ย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทคู่ค้าสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่น Upper-layer ได้เร็วขึ้น และลูกค้าก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยการให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ แทนที่จะเสียเวลาไปกับการผนวกรวมเทคโนโลยีพื้นฐาน หัวเว่ยตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระยะยาวของลูกค้าด้วยการใช้แนวทางนี้”
ในงาน HUAWEI CONNECT 2018 กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้สรุปให้ผู้ร่วมงานได้เห็นถึงความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาของ Digital Platform โดยการยกระดับความสามารถเหล่านี้เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจต่างๆ สามารถแข่งขันและเติบโตได้ในโลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ความสามารถเหล่านี้ประกอบด้วย
- มัลติคลาวด์: FusionStorage8.0 ของหัวเว่ย ถือเป็นโซลูชันหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรม ที่สามารถมอบการตอบสนอง I/O ในเวลา 300 ไมโครวินาที นอกจากนี้ ยังใช้สถาปัตยกรรมแบบกระจาย (Fully-distributed) โดยไม่มีเกตเวย์ และเชื่อถือได้ด้วยการทำงานแบบ active-active ขณะที่โซลูชั่นไพรเวทคลาวด์ของหัวเว่ยนั้น นำเสนอบริการคลาวด์บนเลเยอร์ IaaS ที่มากที่สุดในอุตสาหกรรม
- เครือข่าย: โซลูชั่น CloudFabric ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมของหัวเว่ย สามารถรองรับอัพลิงค์และดาวน์ลิงค์ของคอนเทนเนอร์ 10K ที่ระดับนาที
- อุปกรณ์: หัวเว่ยนำเสนอโมดูลแอพพลิเคชั่นอัจฉริยะตัวแรกของอุตสาหกรรมอย่าง Atlas200 ที่สามารถวิเคราะห์วิดีโอความละเอียดสูงและเซลล์ขนาดเล็กสุดอัจฉริยะ (Advanced smart small cells) ได้ในแบบเรียลไทม์
- นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ Full-stack AI ใหม่ล่าสุด ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถรวมแอพพลิเคชัน AI เฉพาะอุตสาหกรรม เข้าไว้ใน Digital Platform ได้ เพื่อสนับสนุนการปรับผ่านองค์กรสู่ดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น
AI + Digital Platform ของหัวเว่ย ช่วยพลิกโฉมเขตมืองใหม่เทียนจิน ปินไห่ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ
ด้วยความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน (Tianjin Economic-Technological Development Area – TEDA) จึงสามารถออกแบบและพัฒนาโซลูชั่น Smart City “1 + 4 + N” (หมายถึง หนึ่งศูนย์กลาง สี่แพลตฟอร์ม บวกด้วยแอพพลิเคชั่นสุดล้ำ) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI โดย “1” สื่อถึง ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operations Center – IOC) ที่ทำหน้าที่เป็น “สมองของเมือง” ด้วยการรวบรวมข้อมูลที่มาจากบริการต่าง ๆ ของรัฐบาล องค์กรธุรกิจ และหน่วยงานบริการประชาชน ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและ IoT โดยใช้เทคโนโลยี AI เป็นขุมพลังขับเคลื่อน ซึ่งถือเป็นการนำเอาขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมาช่วยพลิกโฉม Tianjin BinHai New Area ให้กลายเป็นเมืองอัจฉริยะ

และ เฉิน ซง หัวหน้าสำนักงานก่อสร้างเมืองอัจฉริยะ TEDA
โซลูชั่นนี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์ม AI สี่แพลตฟอร์ม ที่ทำงานสื่อสารกับ IOC อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบบริการอัจฉริยะต่างๆ อาทิ
- Resident Voices – มาพร้อมกับเทคโนโลยีรู้จำเสียง และการหาความสัมพันธ์เชิงความหมาย ทำให้ผู้บริหารเมืองรับรู้เสียงของผู้อยู่อาศัยแต่ละราย และมีข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของชาวเมือง
- Sensing the City – ใช้เทคโนโลยีจดจำรูปภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน สถานที่ ยานพาหนะและสิ่งของ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
- Resident Care – ผสานการเรียนรู้เชิงลึกเข้ากับการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ตลอดวงจรชีวิตของบริการ เพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรที่ตอบโจทย์ความต้องการและตรงตามความชอบของผู้อยู่อาศัย
- Enterprise Services – นำการวิเคราะห์พหุมิติและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ภายในของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเขต TEDA เพื่อการจับคู่ทรัพยากรบริการที่มีอยู่ได้อย่างแม่นยำตลอดวงจรชีวิตขององค์กร
ว่านเคอ (Vanke) เลือกใช้โซลูชั่น Smart Campus รุ่นใหม่ของหัวเว่ย
ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โซลูชั่น Smart Campus จะเข้ามาสนับสนุนการเติบโตและขับเคลื่อนความสามารถด้านการแข่งขันให้กับองค์กรธุรกิจทั่วโลก ทั้งนี้ การสร้าง Smart Campus จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม ลึกซึ้ง และแม่นยำมากขึ้น และสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงให้กับลูกค้า ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการรองรับการใช้งานในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมในวงกว้าง หัวเว่ยจึงนิยามหลักการทำงานแพลตฟอร์ม Smart Campus ไว้ 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้
- Smart model: นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลแล้ว แพลตฟอร์มดังกล่าวยังสามารถสนับสนุนการเชื่อมโยง การร่วมมือ และการผสมผสานการทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
- Campus space: ข้อจำกัดด้านพื้นที่จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะแคมปัสจะเปลี่ยนจากพื้นที่ทางกายภาพไปเป็นชุมชนเสมือนจริง
- Business model: แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากเดิมที่เป็นธุรกิจสแตนด์อโลนไปเป็นธุรกิจแบบหลายมิติ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างมูลค่าผ่านการแบ่งปันธุรกรรมระหว่างกัน
- Campus operation: การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันจะสามารถมองเห็นได้ บริหารจัดการได้ และควบคุมได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงจากการดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ ไปเป็นการดำเนินงานแบบออนดีมานด์

และเซี่ย จื้อฟาง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท วานอี่ เทคโนโลยี่ จำกัด ในเครือว่านเคอ
หัวเว่ยกำลังดำเนินโครงการนำร่องในการติดตั้งโซลูชั่นแคมปัสที่เป็นระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม ที่สำนักงานของบริษัทเองใน 172 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ว่านเคอ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของจีน ก็กำลังนำเอาโซลูชั่น Smart Campus ของหัวเว่ยมาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของธุรกิจหลักของบริษัท ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนานวัตกรรม และเร่งผลักดันโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทยังร่วมมือกันจัดตั้งห้องปฏิบัติการนวัตกรรม รวมถึงสำรวจและร่วมลงทุนในสถานการณ์และโมเดลใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาในอนาคต
หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับลูกค้าในระยะยาว โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นอนาคต เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์มที่ทรงประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 500 ถึง 211 บริษัท (รวมทั้งบริษัทในทำเนียบ Fortune Global 100 จำนวน 48 บริษัท) ที่เลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรในการพลิกโฉมธุรกิจของพวกเขาสู่ดิจิทัล
การประชุม HUAWEI CONNECT 2018 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมและนิทรรศการเซี่ยงไฮ้ เวิลด์ เอ็กซ์โป ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม ภายใต้ธีม “Activate Intelligence” โดยงานนี้เปิดกว้างสำหรับความร่วมมือและการแบ่งปัน เพื่อให้องค์กรทุกแห่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในโลกอัจฉริยะ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองจากเหล่าผู้นำความคิดในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารภาคไอซีที ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม และหุ้นส่วนในระบบนิเวศ เพื่อเร่งการเดินหน้าและสำรวจโอกาสใหม่ ๆ
###
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com
ติดตามเราได้ที่
http://www.linkedin.com/company/Huawei