ไมโครซอฟท์ผลักดันภาคธุรกิจไทย หนุนให้นำ AI เข้าไปอยู่ในกลยุทธ์หลัก

  • ธุรกิจไทยมีเพียง 26% เท่านั้นที่นำ AI เข้ามาประยุกต์ในกลยุทธ์หลักทางธุรกิจ
  • ชู จีซี เป็นองค์กรตัวอย่างด้านการนำ AI เข้ามาเสริมศักยภาพการทำงาน
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดเผยผลสำรวจหัวข้อ  Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI ร่วมกับมร.ไมเคิลอะราเน็ตตา (ที่ 4 จากซ้าย) รองประธานบริหารไอดีซีไฟแนนเชียลอินไซต์คุณชัชวลิต ธรรมสโรช (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานบริหารทั่วไปบริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด (มหาชน) และนางกัญจนีวงศ์ รุ่งโรจน์กิจ (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีบริษัทฟรอนทิสจำกัด

กรุงเทพฯ – 12 มีนาคม 2562 – รายงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก และไอดีซี ในหัวข้อ Future Ready Business: Assessing Asia Pacific’s Growth Potential Through AI ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ภาคธุรกิจของไทยควรเร่งนำ AI มาใช้งาน เพื่อยกระดับศักยภาพในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยจากผลสำรวจองค์กรธุรกิจ 101 แห่งทั่วประเทศ พบว่ามีองค์กรเพียง 26% เท่านั้นที่นำ AI เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักในกลยุทธ์ทางธุรกิจ แม้ว่ากว่า 85% ขององค์กรเหล่านั้นจะเข้าใจดีถึงผลกระทบเชิงบวกจากการใช้งาน AI ก็ตาม

ผลสำรวจดังกล่าวยังเผยอีกว่า องค์กรธุรกิจไทยคาดว่า AI จะเพิ่มอัตราการสร้างนวัตกรรมขึ้นอีก 66% และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ราว 32% ภายในปี 2564 ขณะที่จะศักยภาพการแข่งขันจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 81%

นายธนวัฒน์สุธรรมพันธุ์กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “ทุกวันนี้ ทุกบริษัทก็เป็นเหมือนบริษัทซอฟต์แวร์ และการทำงานในทุกส่วนก็เป็นดิจิทัลมากขึ้น การจะประสบความสำเร็จในโลกยุคใหม่นี้ องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาประยุกต์ใช้ให้ได้โดยเร็ว และสร้างความสามารถเชิงดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองได้ ซึ่งในยุคของเรา AI จะเป็นเทคโนโลยีที่กำหนดทิศทางแห่งอนาคต ด้วยศักยภาพมหาศาลทั้งในการขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจ สร้างนวัตกรรม เสริมประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และต่อยอดการเติบโตของธุรกิจ ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศและธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มต้นใช้งาน AI จึงกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน และตกเป็นรองธุรกิจที่เป็นผู้นำในด้านนี้” 

สำหรับองค์กรที่เริ่มนำ AI มาใช้ มีปัจจัยขับเคลื่อนให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ใน 5 อันดับแรกคือ ประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้า (31% ของผู้ร่วมทำการสำรวจเลือกเป็นปัจจัยอันดับหนึ่ง) ความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น (22%) ส่วนต่างกำไรที่เพิ่มขึ้น (22%) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน (9%) และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น (8%) ตลอดปีที่ผ่านมา องค์กรที่เริ่มใช้งาน AI ได้เห็นถึงการพัฒนาที่ชัดเจนจากศักยภาพในด้านต่างๆ เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นราว 28-36% และยังคาดการณ์อีกว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิมอีกไม่ต่ำกว่า 20% ในช่วงระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า

ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูลและเสริมการลงทุนเกี่ยวกับ AI 

ผลการสำรวจของไมโครซอฟท์และไอดีซีนี้ ได้เก็บข้อมูลด้านความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ AI ใน 6 ด้านหลักๆ โดยพบว่าประเทศไทยจะต้องเดินหน้าพัฒนาศักยภาพต่อไปในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านข้อมูลและการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำ AI มาใช้งานอย่างเต็มตัว 

มร.ไมเคิลอะราเน็ตตารองประธานบริหารไอดีซีไฟแนนเชียลอินไซต์กล่าวว่า “ประเทศไทยยังต้องเสริมความพร้อมในหลายมิติ เพื่อให้คว้าโอกาสจากพลังของ AI ได้ อย่างเต็มที่ ขณะที่หลายๆ ธุรกิจของไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเปิดรับเทคโนโลยีไปแล้ว แต่ก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการเพื่อทำให้เกิดกลยุทธ์ AI ที่ชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และระบบข้อมูลที่เพียบพร้อม เปิดให้เข้าถึงได้โดยสมบูรณ์ ปัจจัยทั้งหมดนี้จะปูทางไปสู่ความสามารถที่ดีขึ้นของ AI และผลกระทบทางธุรกิจที่สัมผัสได้อย่างแท้จริง ภาคธุรกิจจะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน มุ่งเน้นความคล่องตัว เพื่อวางรากฐานของความสำเร็จในระยะยาว โดยที่ในบางกรณี อาจไม่ได้เห็นผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินในทันที”

ส่วนผู้นำในภาคธุรกิจที่กำลังประยุกต์ใช้ AI กำลังประสบกับความท้าทาย 3 ประการ ได้แก่ ภาวะขาดความเป็นผู้นำทางความคิด และความมุ่งมั่นของผู้บริหารในการลงทุนกับ AI การขาดทักษะ ทรัพยากร และโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการที่ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาระบบข้อมูลให้พร้อมสำหรับ AI

ผลสำรวจนี้ยังแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในการใช้งาน AI ผู้นำธุรกิจและพนักงานที่ร่วมแสดงความเห็นจำนวนมากเชื่อว่า คุณสมบัติทางวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI เช่น การพร้อมรับความเสี่ยง การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงรุก และความร่วมมือข้ามสายงานของแต่ละทีม ยังไม่แพร่หลายนักในสภาพแวดล้อมการทำงานปัจจุบัน

“โดยรวมแล้ว พนักงานขององค์กรในประเทศไทยมีความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับความพร้อมทางวัฒนธรรมขององค์กร มากกว่าในกลุ่มผู้นำธุรกิจ” นายอะราเน็ตตาเสริม “ผู้นำธุรกิจต้องเปิดใจรับวัฒนธรรมใหม่เสียแต่ตอนนี้ และพัฒนาให้นวัตกรรมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นส่วนประกอบหลักของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้เกิดความคล่องตัว ความสามารถในการปรับตัว และการเติบโตต่อไป”

ยังต้องแก้ไขปัญหาด้านทักษะของแรงงานก่อนปูทางสู่การใช้งาน AI 

ผลสำรวจดังกล่าวพบว่า ผู้นำธุรกิจและพนักงานมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของ AI ต่อการทำงานในอนาคต โดยมากกว่าครึ่งหนึ่ง (77% ของผู้นำธุรกิจ และ 58% ของพนักงาน) เชื่อว่า AI จะช่วยทำงานปัจจุบันของพวกเขาให้ดีขึ้น หรือลดภาระในกรณีของงานที่ต้องทำซ้ำๆ อยู่เป็นประจำ

“เมื่อพูดถึงกรณีการสร้างตำแหน่งงานใหม่ หรือโอกาสใหม่ๆ ที่จะเข้ามาแทนที่งานแบบเดิม ผู้นำธุรกิจ 13% เชื่อว่า AI จะช่วยสร้างโอกาสงานใหม่ๆ ได้ ขณะที่มีเพียง 5% ที่รู้สึกว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาแทนที่แรงงานคน ในภาพรวม ผู้นำธุรกิจ 90% และพนักงาน 77% มองว่าการนำ AI มาประยุกต์ใช้จะช่วยเปิดทางไปสู่โอกาสใหม่ๆ หรือเสริมให้พวกเขาทำงานที่ทำอยู่เดิมได้ดียิ่งขึ้น” นายอะราเน็ตตากล่าว

ผลสำรวจนี้ยังพบอีกว่า พนักงานมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากกว่าที่ผู้นำธุรกิจคาดการณ์ไว้ โดยผู้นำ 36% รู้สึกว่าพนักงานไม่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ขณะที่มีพนักงานเพียง 18% ที่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ

“วิสัยทัศน์ด้าน AI ของไมโครซอฟท์มุ่งเน้นไปที่มนุษย์ก่อนเป็นอันดับแรก เทคโนโลยี AI ไม่สามารถก้าวหน้าไปได้โดยปราศจากคน จึงเท่ากับว่าพนักงานหลายล้านคนจำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองให้มีทักษะ ยกระดับความสามารถให้พร้อมสำหรับอนาคตในยุคแห่ง AI” นายธนวัฒน์กล่าวเสริม“เป็นเรื่องน่ายินดีที่ธุรกิจถึง 81% ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะของพนักงานในอนาคต พวกเขาวางแผนที่จะลงทุนไปกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกัน ผู้นำธุรกิจราว 48% ก็ยังไม่เริ่มดำเนินการเพื่อช่วยพนักงานของพวกเขาให้มีทักษะที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลอยู่ในขณะนี้ โดยพวกเขาจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึกสอนพนักงานโดยด่วน”

สำหรับ 3 ทักษะสำคัญที่ผู้นำธุรกิจในประเทศไทยต้องการ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดิจิทัล และการคิดวิเคราะห์ โดยที่ 2 ทักษะแรกนั้น มีความต้องการในตลาดแรงงานสูงกว่าปริมาณบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการนี้ ผลสำรวจนี้ยังเผยว่า ผู้นำธุรกิจให้ความสำคัญกับความสามารถทางด้านสังคมมากกว่าที่พนักงานคาดการณ์ไว้ ส่วนทักษะที่มีภาวะขาดแคลนมากที่สุด ได้แก่ การบริหารจัดการโครงการ ความเป็นผู้นำและการจัดการบุคลากร และความคิดสร้างสรรค์

จีซียกระดับความปลอดภัยของการเดินทางด้วย “AI for Road Safety”

โดยเฉลี่ยแล้ว ในแต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทยถึง 66 คน ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งกว่า 60% ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถขนส่งสาธารณะ มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการขับรถเร็วเกินกำหนดและความเหนื่อยล้าหรือง่วงนอนของผู้ขับขี่ ทั้งนี้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี มีสำนักงานในกรุงเทพฯ และโรงงานในระยอง ซึ่งถือเป็นจังหวัดศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม ในแต่ละปีพนักงานของจีซีจะเดินทางไป-กลับบนเส้นทางนี้จำนวนมาก ด้วยรถตู้รับส่งของบริษัทฯ

จีซีให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง บริษัทฯ จึงเริ่มเดินหน้าใช้โซลูชั่นอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ผ่านโครงการ “AI for Road Safety” โดยความร่วมมือระหว่างจีซีและฟรอนทิส บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านการวางแผนกลยุทธ์และการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยี AI ของไมโครซอฟท์ ซึ่งผสมผสานระบบการจดจำใบหน้า เข้ากับระบบการวิเคราะห์ภาพวิดีโอและข้อมูล เพื่อสังเกตการณ์พฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้แบบเรียลไทม์

ระบบดังกล่าวทำงานโดยใช้กล้องที่จับภาพคนขับ พร้อมระบบจีพีเอส เพื่อเก็บข้อมูลภาพใบหน้าและการเคลื่อนไหวของยานพาหนะก่อนจะส่งไปยังระบบคลาวด์ เพื่อประมวลผลด้วย Machine Learning หากตรวจพบสัญญาณความเสี่ยง ผู้ขับจะได้รับการแจ้งเตือน หรือได้รับการติดต่อจากผู้ดูแลระบบรถโดยสาร โดยอาจมีการส่งคนขับรายใหม่ไปแทนที่ในกรณีที่จำเป็น นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบยังสามารถประเมินผลการทำงานของรถโดยสารและผู้ขับขี่ในระยะยาวได้ ผ่านหน้าจอแสดงข้อมูลที่มีระบบการวิเคราะห์ข้อมูล Power BI ของไมโครซอฟท์ โดยครอบคลุมทั้งศักยภาพของผู้ขับขี่ ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแง่มุมต่างๆ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในการฝึกอบรมผู้ขับขี่

คุณชัชวลิตธรรมสโรชผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานบริหารทั่วไปบริษัทพีทีทีโกลบอลเคมิคอลจำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ของประเทศ บริษัทฯ ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ต้องไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในทุกพื้นที่โรงงาน สำนักงาน และเขตอุตสาหกรรมของเรา ตลอดจนความปลอดภัยของบุคลากรทุกคน การนำระบบ AI นี้มาใช้งาน ไม่เพียงทำให้เกิดประโยชน์กับบริษัทเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความอุ่นใจให้กับครอบครัวของพนักงานทุกคน ที่ต่างก็ต้องการให้สมาชิกของครอบครัวได้กลับบ้านอย่างปลอดภัย พร้อมหน้าพร้อมตากันทุกวัน เราเชื่อว่าความมุ่งมั่นและแรงสนับสนุนจากทีมงานของเรา ผนึกกับศักยภาพของ AI จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายนี้ไปได้ด้วยดี”

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่น AI ของไมโครซอฟท์ได้ที่

https://news.microsoft.com/apac/features/artificial-intelligence/

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @Microsoft) ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536  มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย   

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย (http://news.microsoft.com/th-th/) และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

About naruethai

Check Also

Facebook อัปเดตฟีเจอร์ ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมสิ่งที่แชร์และค้นพบบนแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันนี้ Facebook แนะนำเครื่องมือที่ปรับปุงใหม่เพื่อช่วยให้คุณควบคุมสิ่งที่แชร์ไปยังฟีดข่าวได้มากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าใครสามารถแสดงความคิดเห็นในโพสต์สาธารณะของคุณได้บ้าง ซึ่งคุณสามารถควบคุมกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นสำหรับโพสต์สาธารณะของคุณได้แล้ว โดยเลือกจากเมนูที่มีให้ ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ทุกคนที่เห็นโพสต์ไปจนถึงเลือกเฉพาะบุคคลและเพจที่คุณแท็ก

เอชพี พลิกโฉมประสบการณ์ลูกค้า เปิดโชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย

นำเสนอนวัตกรรมพีซีและพรินเตอร์ล้ำสมัย ผ่านประสบการณ์โต้ตอบแบบอินเทอร์แอคทีฟ เอชพี อิงค์ เผยโฉม HP virtual showroom โชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับลูกค้า ครอบคลุม 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะนำลูกค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ทันสมัย สัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายตามความต้องการใช้งานที่แตกต่าง