ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สมาร์ทโฟนได้พลิกชีวิตของผู้บริโภคในอาเซียนไปอย่างมาก ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งตัวเลขการใช้สมาร์ทโฟนต่อหัวในภูมิภาคนี้ยังสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งอีกด้วย HILL ASEAN จึงได้ตั้งคำถามในการวิจัยว่า แล้วในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีเทคโนโลยีอื่นใดอีกบ้างที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของผู้คน และจะเป็นไปในรูปแบบใด
ในช่วงหลายปีมานี้ IoT เป็นที่จับตามองมากจากทั่วโลกในฐานะเทคโนโลยีสำคัญแห่งอนาคต ต่อเนื่องจากสมาร์ทโฟน ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในโลกถูกเชื่อมต่อถึงกันด้วยอินเทอร์เน็ต โดยคาดการณ์กันว่า IoT จะยิ่งก้าวล้ำมากขึ้นไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำให้แนวคิด “intelligence of things” เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยคาดการณ์กันว่า จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกันด้วยเทคโนโลยี IoT จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของสมาร์ทโฟน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า ทำให้ปัจจุบันบริษัทไอทีต่างแข่งขันกันอย่างดุเดือด ที่จะพัฒนาเทคโนโลยี IoT และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ HILL ASEAN คาดว่า การแพร่หลายของเทคโนโลยี IoT จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ประการ คือ
1. การมาถึงของยุคไร้จอ “Beyond the screen”
เมื่อ IoT แพร่หลายมากขึ้น โลกดิจิทัลที่เคยอยู่แต่บนจอจะก้าวข้ามรูปแบบของหน้าจอไปโดยสิ้นเชิง เทคโนโลยีดิจิทัลจะแผ่ขยายไปอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รถยนต์ ระบบเมือง และโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม
2. การสั่งสมฐานข้อมูล “Me Data”
เมื่อ IoT แพร่หลายมากขึ้น ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในอดีต ประวัติการสั่งซื้อ ความชื่นชอบ หรือข้อจำกัดใดๆ จะถูกเก็บสะสมอยู่ในอุปกรณ์ IoT ต่างๆ กลายเป็นยุคที่ผลิตภัณฑ์ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี IoT จะสะสมข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ (Me Data) และมีศูนย์กลางการควบคุมเพียง 1 ไอดีเท่านั้น
3. การให้คำแนะนำที่ตรงใจ
ยิ่ง Me Data เก็บข้อมูลได้มากขึ้นเท่าใด AI ก็จะสามารถให้คำแนะนำที่โดนใจผู้ใช้งานได้ดีมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อ AI ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ฐานข้อมูล Me Data มากขึ้น ก็จะยิ่งคาดการณ์พฤติกรรมผู้บริโภคได้แม่นยำมากขึ้นตามไปด้วย และสามารถนำเสนอสิ่งที่เราต้องการในช่วงเวลานั้นๆ ได้อย่างทันท่วงทีผ่านอุปกรณ์ IoT ต่างๆ
■ การแพร่หลายของ IoT จะนำไปสู่สื่อรูปแบบใหม่ “Assistive Media”
ความนิยมในเทคโนโลยี IoT จะทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่ ที่ HILL ASEAN ตั้งชื่อให้ว่า “Assistive Media” ในยุคนี้ เราจะได้รับการสนองตอบในสิ่งที่ต้องการจากข้อมูล และ Solution ต่างๆ ที่ถูกกลั่นกรองมาเป็นพิเศษด้วยฐานข้อมูล Me Data และเทคโนโลยี AI ไม่เพียงชีวิตประจำวันของเราจะได้รับการช่วยเหลือให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่ยังรวมไปถึงสื่อต่างๆ อีกด้วย
■ ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร เมื่อเทคโนโลยี IoT เปลี่ยนสภาพไปสู่การเป็น Assistive Media
จากการวิจัย HILL ASEAN ระบุว่า ภายใต้สถานการณ์นี้ ผู้บริโภคอาเซียนจะเกิดพฤติกรรม 2 รูปแบบ
ประการแรกเรียกว่า Bye-Bye Boring Routines กล่าวคือ การดำเนินกิจกรรมซ้ำๆ ตามปกติในแต่ละวันจะลดลง เนื่องจากเทคโนโลยี IoT และAIจะเข้ามาช่วยให้กิจกรรมเหล่านี้ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ง่าย และเป็นไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยี IoT และ AI ยังจะทำให้กิจวัตรประจำวันที่น่าเบื่อเหล่านี้สนุกขึ้นได้ เช่น การซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ซึ่งปกติแล้วผู้บริโภคก็ไม่มีความชอบเป็นพิเศษ เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาไม่จำเป็นต้องตัดสินใจเลือกด้วยตัวเองอีกต่อไป
ประการที่สอง คือ พฤติกรรมที่เรียกว่า Match-Me Journey แทนที่จะต้องมาสิ้นเปลืองเวลาไปกับการศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบ ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุด ผู้บริโภคจะได้รับคำแนะนำจากระบบ AI เกี่ยวกับสิ่งของและบริการ น่าซื้อ ซึ่งถูกกลั่นกรองมาแล้วว่าตรงกับความชอบส่วนบุคคลของผู้บริโภค แล้วจึงค่อยทำการตัดสินใจซื้อในที่สุด
■ พฤติกรรมผู้บริโภครูปแบบใหม่ที่จะปรากฏในภูมิภาคอาเซียน
■ ข้อมูลความเป็นมาเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภครูปแบบใหม่ (จากการวิจัยเชิงปริมาณของฮาคูโฮโด)
เช่นเดียวกับในภูมิภาคอื่น ผู้บริโภคในประเทศอาเซียนต่างเหนื่อยล้ากับภาวะข้อมูลท่วมท้น และมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจมากเกินไป จึงต้องการให้มีใครสักคนมาช่วยจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ รวมถึงช่วยในกระบวนการตัดสินใจซื้อ
นอกจากนี้ ทัศนคติด้านบวกที่มีต่อเทคโนโลยี AI และการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในปริมาณมากยังสะท้อนว่า ผู้บริโภคอาเซียนมีแนวโน้มที่จะยอมรับคำแนะนำและการช่วยเหลือจากเทคโนโลยี IoT และ AI ได้ง่าย
■ แบรนด์ควรเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มนี้อย่างไร?
Purpose Branding: กำหนดนิยามคุณค่าของแบรนด์ ชัดเจนเหมาะกับสถานการณ์
เมื่อมี Assistive Media เป็นตัวช่วยนำเสนอแบรนด์ “อันดับ 1” ในแง่ต่างๆ เช่น แบรนด์อันดับ 1 ในใจ, แบรนด์ที่ถูกค้นหาเป็นอันดับ 1, แบรนด์ที่มียอดขายเป็นอันดับ 1 หรือแบรนด์ที่มีราคาถูกที่สุด ฯลฯ จะทำให้การค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ชนิดใดชนิดหนึ่งน้อยลง สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือ ให้คำนิยามที่ชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นจะเป็นประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของผู้บริโภคในเวลาหรือสถานการณ์ไหน ซึ่งข้อมูลทั้งสองส่วนนี้จะกลายมาเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการทราบมากที่สุด
Life Solutions: พัฒนา Solution ครบวงจร ตอบโจทย์ทุกปัญหาผู้บริโภค
เพื่อที่จะเป็นสินค้าที่ได้รับการเลือกจากผู้บริโภคและ Assistive Media แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องทำอะไรที่มากกว่าการผลิตและขายสินค้าเท่านั้น นั่นคือการนำเสนอ “life solutions” หรือสินค้าและบริการที่พัฒนาเป็นพิเศษ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งพวกเขาจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน โดยผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ อาจจะต้องร่วมมือกันสร้างระบบนิเวศขนาดใหญ่ เพื่อนำเสนอสิ่งเหล่านี้แก่ผู้บริโภคได้อย่างครบวงจร
นอกจากนี้ในการพัฒนา Solution ผู้ประกอบการอาจต้องพิจารณาด้วยว่า Solution ที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะช่วยแก้ปัญหาตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง
Real-Time Marketing: นำเสนอคอนเทนต์โดนใจ ฉับไวตรงสถานการณ์
แนวทางการทำการตลาดแบบ Real-time marketing ที่เน้นการสร้างคอนเทนต์การสื่อสาร ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความสนใจของผู้บริโภคแต่ละคนได้อย่างทันท่วงที จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจต้องใช้ทั้งข้อมูลที่แบรนด์มีอยู่แล้วร่วมกับข้อมูลจาก Me Data มาผสานรวมกัน โดยการทำตลาดแบบนี้จะช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การใช้ประโยชน์จาก Me Data และการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาเป็นของแบรนด์เอง จึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทำ
รายละเอียดการเก็บข้อมูลเทคโนโลยี IoT ใน 6 ชาติอาเซียน
การวิจัยเชิงคุณภาพ |
| การวิจัยเชิงปริมาณ |
การเยี่ยมบ้าน | วิธีการสำรวจ | การเก็บข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต |
ชายและหญิง อายุระหว่าง 20-49 ปี (ที่มีระดับรายได้ A–C) | ผู้ให้ข้อมูล | ชายและหญิง อายุระหว่าง 20-49 ปี (ที่มีระดับรายได้ A–C) |
กรุงเทพฯ (ไทย) สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) จาการ์ตา (อินโดนีเซีย) โฮจิมินห์ ซิตี้ (เวียดนาม) มะนิลา (ฟิลิปปินส์) | พื้นที่สำรวจ | ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ (ทั่วประเทศ) |
ประเทศละ 6 ครัวเรือน รวม 36 คน | ขนาดกลุ่มตัวอย่าง |
ประเทศละ 900 คน รวม 5,400 คน
|
กันยายน – ตุลาคม 2561 | ระยะเวลาการสำรวจ | มิถุนายน 2561 |
การเก็บข้อมูลด้วยการเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายและเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ระบบบ้านอัจฉริยะ | รถยนต์อัจฉริยะ | การซื้อของออนไลน์ |
เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ ดังต่อไปนี้: – ลำโพงอัจฉริยะ ที่มีอินเทอร์เฟซควบคุมการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยเสียง ไม่นับรวมลำโพงที่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นได้ทันที ผ่านสัญญาณ Wi-Fi หรือบลูทูธ – เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และระบบรักษาความปลอดภัย ที่ควบคุมการทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ฯลฯ – หุ่นยนต์ทำความสะอาด ที่ควบคุมการสั่งงานด้วยเสียง | เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ ดังต่อไปนี้: – เชื่อมต่อรถยนต์เข้ากับสมาร์ทโฟน ผ่านสัญญาณ Wi-Fi หรือบลูทูธ เพื่อฟังเพลงหรือเล่นวิดีโอ – เคยเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลด้วยตนเอง ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา | เป็นผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ ดังต่อไปนี้: – การทำธุรกรรมการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ – มีการจ่ายค่าบริการสมัครสมาชิก เช่น ภาพยนตร์ เพลง แฟชั่น ฯลฯ – ใช้งานเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซ เป็นประจำ เช่น ซื้อของออนไลน์ อย่างน้อย 5 ครั้งต่อเดือน ไม่รวมการใช้บริการส่งอาหาร เป็นต้น |
เกี่ยวกับศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN หรือ HILL ASEAN)
ศูนย์วิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือฮิลล์ อาเซียน (HILL ASEAN)ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 เพื่อเป็นคลังสมองทางวิชาการภายในองค์กร ที่มุ่งศึกษาวิจัยผู้คนในชาติอาเซียน ตามแนวคิด sei-katsu-sha ทั้งนี้ HILL ASEAN ได้เริ่มเข้ามาดำเนินงานในประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการทำงานของกลุ่มลูกค้า โดยนำเอาองค์ความรู้ด้านการวิจัย sei-katsu-sha มาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาดและวิธีเข้าถึงผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน
ชื่อทางการค้า: Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN
กรรมการผู้จัดการ: นายโกโร โฮคาริ
ที่ตั้ง: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
การวิจัย และกิจกรรมรูปแบบอื่นๆ :
- การสำรวจความคิดเห็นแบบกำหนดจุดตายตัว ASEAN Fixed Point Survey Survey เพื่อศึกษาความเป็นอยู่และความคิดรอบด้านของ sei-katsu-sha ในประเทศอาเซียน (ทุก 2 ปี)
- งานวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลจากมุมมองผู้บริโภคท้องถิ่นในประเทศอาเซียน
- งานสัมมนาในประเทศอาเซียน
###
เกี่ยวกับบริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์
บริษัท ฮาคูโฮโด อิงค์ ก่อตั้งในปี 2438 เป็นเอเจนซีโฆษณาและประชาสัมพันธ์ครบวงจรที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นบริษัทหลักของกลุ่มบริษัท Hakuhodo DY Group เอเจนซีโฆษณายักษ์ใหญ่อันดับ 6 ของโลก จากการจัดอันดับของนิตยสาร Advertising Age ในปี 2561
ฮาคูโฮโดมีสำนักงานอยู่ใน 20 ประเทศ และมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 10,000 คนทำงานอยู่ในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ปัจจุบัน ฮาคูโฮโดกำลังเร่งเครื่องสร้างรากฐานที่เข้มแข็งในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย หลังเตรียมการเร่งเครื่องขยายธุรกิจออกไปทั่วทั้งภูมิภาค
การเข้าถึงวิถีความคิดของ sei-katsu-sha เป็นรากฐานสำคัญที่ฮาคูโฮโดใช้ในการคิดวิเคราะห์ วางแผน และสร้าง แบรนด์มาโดยตลอด โดยปรัชญาของ sei-katsu-sha เชื่อว่า ผู้บริโภคเป็นปัจเจกบุคคลที่มีมิติมากกว่าการจับจ่ายใช้สอย พวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีหัวใจความรู้สึกและมีไลฟ์สไตล์เฉพาะเป็นของตนเอง โดยฮาคูโฮโดได้ริเริ่มคำจำกัดความนี้และยึดถือแนวคิดดังกล่าวเป็นหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 อันเป็นการเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะศึกษามุมมองความคิดของผู้บริโภคอย่างรอบด้าน เพื่อเข้าถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริงแบบ 360 องศา
ด้วยความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ ฮาคูโฮโดได้รับรางวัลการันตีฝีมือมากมาย โดยเคยคว้ารางวัล Grand Prix ถึงสองครั้งจากเทศกาลครีเอทีฟที่เมืองคานส์ หรือเวที Cannes Lions International Festival of Creativity และยังเป็นเอเจนซีเพียงหนึ่งเดียวที่มีสำนักงานใหญ่ในเอเชียซึ่งได้รับรางวัล Special Lion เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีเทศกาล Cannes Lion ในปี 2546
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.hakuhodo-global.com