แถลงการณ์ จากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน มร.หลู กัง 
(จากงานแถลงข่าวสื่อมวลชน 10 ธันวาคม 2561)

ถาม: ตามที่ได้มีการรายงานข่าวว่ารองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปมร. แอนดรัสแอนซิพ  ได้กล่าวว่าสหภาพยุโรปควรกังวลใจเกี่ยวกับหัวเว่ยและบริษัทอื่นๆของจีนเพราะรัฐบาลจีนอาจขอให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานข่าวกรองของจีนอย่าง “การใช้ช่องโหว่สำคัญในซอฟต์แวร์” เพื่อให้สามารถเข้ารหัสข้อมูลได้คุณคิดเห็นอย่างไรกับประเด็นนี้

ตอบ: เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้ชี้แจงไปแล้วว่า มีกลุ่มคนในบางประเทศที่กล่าวหาว่า หัวเว่ย “อาจ” เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติของพวกเขา ทว่าในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีประเทศไหนสามารถหาหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาอธิบายได้อย่างชัดเจนว่าหัวเว่ยเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติอย่างไร จึงเป็นเรื่องที่น่าขันที่ธุรกิจที่ดำเนินมาตามปกติจะต้องมาถูกขัดขวางเพียงเพราะ “การคาดคะเน” ของกลุ่มคนไม่กี่คน ยิ่งไปกว่านั้น ผมก็ไม่เห็นว่า การกระทำเช่นนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ได้อย่างไร  อันที่จริง ผมเองก็อยากจะทราบเหมือนกันว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไร หากผลิตภัณฑ์หรือการลงทุนและโครงการความร่วมมือของประเทศตนต้องถูกยับยั้งเพียงเพราะข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูล คนเหล่านั้นจะคิดอย่างไร 

หัวเว่ยเป็นองค์กรเอกชนของจีนที่มีความเป็นอิสระและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีในด้านความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ มากมายทั่วโลก และเราก็ไม่เคยได้ยินว่าประเทศเหล่านั้นมีปัญหาด้านความมั่นคงเพราะความร่วมมือกับหัวเว่ยแต่อย่างใด  เท่าที่ทราบ หัวเว่ยได้ลงนามสัญญา 5G เชิงพาณิชย์กับบริษัทหลายแห่งใน 20 กว่าประเทศซึ่งก็พิสูจน์ได้ว่า หัวเว่ยได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีมาโดยตลอด

ผมขอย้ำอีกครั้งว่า กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของประเทศจีนไม่เคยยินยอมให้อำนาจแก่สถาบันใด ๆ ไปบังคับบริษัทต่าง ๆ ให้สร้าง “ช่องโหว่สำคัญในซอฟต์แวร์” เมื่อต้องประสานความร่วมมือเชิงเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้บริษัทจีนปฏิบัติตามหลักสากล รวมถึงกฎหมายของท้องถิ่นนั้น ๆ มาโดยตลอด และเราก็หวังเช่นเดียวกันว่าประเทศเหล่านี้จะสามารถสร้างสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอันยุติธรรม โปร่งใส และปราศจากอคติแก่บริษัทของจีนที่ต้องการเข้าไปลงทุน ดำเนินธุรกิจ และแสวงหาความร่วมมือในประเทศนั้น ๆ ได้ ตลอดจนหลีกเลี่ยงที่จะสร้างอุปสรรคที่ไม่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจของบริษัทสัญชาติจีนด้วยเหตุจูงใจอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ 

ถาม: คุณกล่าวว่า บริษัทในหลายประเทศได้ลงนามเอกสารความร่วมมือกับหัวเว่ย บริษัทเหล่านั้นเป็นใครกันบ้าง

ตอบ: อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้ว มีประเทศต่าง ๆ กว่า 20 ประเทศได้ลงนามในสัญญา 5G เชิงพาณิชย์กับหัวเว่ย ส่วนที่ว่าบริษัทเหล่านั้นเป็นใครบ้าง เดี๋ยวผมจะไปดูมาให้ อันที่จริง หลายต่อหลายประเทศมองว่า หัวเว่ยเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือด้านการทำงานร่วมกัน ซึ่งคุณก็คงสังเกตเห็นได้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่ามีบริษัทโปรตุเกสลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับหัวเว่ย และในงาน China-France High-Level Economic and Financial Dialogue ครั้งที่ 6 เอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส บรูโน เลอ มารี ได้กล่าวกับนักข่าวที่ปารีสว่า หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีความสำคัญกับฝรั่งเศส และฝรั่งเศสเองก็ยินดีต้อนรับการลงทุนของหัวเว่ย นอกจากนั้นเมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลเยอรมันยังบอกด้วยว่า รัฐบาลเยอรมันไม่มีแผนสั่งห้ามนำเข้าอุปกรณ์ 5G จากซัพพลายเออร์ต่างชาติ บริษัทโทรคมนาคมของเยอรมันก็กำลังประสานความร่วมมือกับบริษัทอีกหลายแห่งรวมถึงหัวเว่ยในการพัฒนาเครือข่าย 5G ด้วย ตัวอย่างเหล่านี้ก็เพียงพอที่จะพิสูจน์ได้แล้วว่า ตลอดเส้นทางแห่งการเติบโต  หัวเว่ยได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรทั่วโลกมาโดยตลอด

###

About naruethai

Check Also

Facebook อัปเดตฟีเจอร์ ช่วยให้ผู้ใช้ควบคุมสิ่งที่แชร์และค้นพบบนแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วันนี้ Facebook แนะนำเครื่องมือที่ปรับปุงใหม่เพื่อช่วยให้คุณควบคุมสิ่งที่แชร์ไปยังฟีดข่าวได้มากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าใครสามารถแสดงความคิดเห็นในโพสต์สาธารณะของคุณได้บ้าง ซึ่งคุณสามารถควบคุมกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาแสดงความคิดเห็นสำหรับโพสต์สาธารณะของคุณได้แล้ว โดยเลือกจากเมนูที่มีให้ ซึ่งสามารถเลือกได้ตั้งแต่ทุกคนที่เห็นโพสต์ไปจนถึงเลือกเฉพาะบุคคลและเพจที่คุณแท็ก

เอชพี พลิกโฉมประสบการณ์ลูกค้า เปิดโชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย

นำเสนอนวัตกรรมพีซีและพรินเตอร์ล้ำสมัย ผ่านประสบการณ์โต้ตอบแบบอินเทอร์แอคทีฟ เอชพี อิงค์ เผยโฉม HP virtual showroom โชว์รูมเสมือนจริงแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับลูกค้า ครอบคลุม 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะนำลูกค้าเข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ทันสมัย สัมผัสประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีที่หลากหลายตามความต้องการใช้งานที่แตกต่าง