ประเทศไทย – โตชิบา ยกทัพโซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 โชว์เทคโนโลยีสุดล้ำลดความเสี่ยงทางไซเบอร์เสริมความแข็งแกร่งแก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและอุตสาหกรรม ตั้งเป้าขยายธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เจาะตลาดประเทศไทย
Read More »โตชิบาพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความรู้สึกนึกคิดและสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง (ตอนที่ 1: เทคโนโลยี)
นายฮิซาชิเกะ ทานากะ คือหนึ่งในผู้ก่อตั้งโตชิบาผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักประดิษฐ์อัจฉริยะ “คาราคุริ จิเอมอน” อัจฉริยภาพด้านหุ่นกลไกของเขา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของหุ่นยนต์ในเวลาต่อมา สามารถแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนได้ ตัวอย่างเช่น หุ่นกลไก “ยูมิฮิคิโดจิ” อันโด่งดัง ซึ่งเป็นตุ๊กตารูปเด็กชายยิงธนูที่สามารถนำลูกดอกขึ้นทาบบนคันธนูและยิงลูกธนูไปยังเป้าหมายได้ ด้วยความคิดสร้างสรรค์และช่างประดิษฐ์นี้เองที่อยู่ในสายเลือดของโตชิบามาอย่างยาวนาน และยังเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงมีความสนใจในการสร้างหุ่นยนต์ใหม่ ๆ ขึ้นมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของบริษัท
Read More »โตชิบาร่วมทีมนานาชาติสร้าง “ดวงอาทิตย์จำลอง” ด้วยเทคโนโลยีฟิวชัน
ลองคิดดูสิว่า หากเราสามารถสร้าง “ดวงอาทิตย์จำลอง” ขึ้นบนโลกได้จะเป็นอย่างไร? นี่อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องเพ้อฝัน แต่ความจริงโครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการแล้ว โดยอาศัยพลังงาน ฟิวชัน (Fusion Power) ซึ่งเป็นรูปแบบพลังงานที่หลายคนเชื่อว่าเป็นคำตอบของทั้งปัญหาด้านพลังงานและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้
Read More »โตชิบาคว้ารางวัลชนะเลิศ เวที iF DESIGN AWARD 2020 จากการพัฒนาระบบควบคุมลิฟต์ FLOORNAVI
เมืองคาวาซากิ ประเทศญี่ปุ่น – โตชิบา เอลเลเวเตอร์ แอนด์ บิลดิงซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (TELC) คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Award) จากงานประกวดการออกแบบระดับโลก International Forum (iF) Design Award 2020 โดยเป็นเพียง 1 ใน 75 ผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทองจากผลงานเข้าประกวดทั้งหมด 7,298 ราย
Read More »วิศวกรโตชิบาพัฒนาระบบ การติดตามประเมิน และเฝ้าระวังวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานที่มีอายุ เพื่อป้องกันการพังทลาย
หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง “ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ” แห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และด้วยความเจริญก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เอง ทำให้โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ถนนหนทาง สะพาน หรืออาคารสูงระฟ้าทั้งหลาย ล้วนถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ว่านี้
Read More »หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ A De-Palletizer Robot with Image Recognition
โลจิสติกส์ คือภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดไปทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นในการรองรับการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกระแสเงินทุนและข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก และเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทและองค์กรทั้งหลายจึงต้องมองหาหนทางรับมือกับความท้าทายด้านโลจิสติกส์และการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งนี่คือจุดที่เทคโนโลยีของโตชิบาสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้
Read More »เซมิคอนดักเตอร์: ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุปกรณ์แยกชิ้นในยุค IOT
ลองมองดูรอบตัวคุณสิ คุณเห็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดกี่ชิ้น การที่เราเห็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบจะทุกที่เช่นนี้แปลว่าเรามีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ หรือ เซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) รายล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าแต่ว่า เซมิคอนดักเตอร์คืออะไร และใช้ทำอะไรได้กันแน่ เพราะแม้หลายคนจะเคยได้ยินชื่ออุปกรณ์นี้ แต่มีน้อยคนนักที่จะอธิบายได้ว่าแท้จริงแล้วอุปกรณ์นี้คืออะไร
Read More »เซมิคอนดักเตอร์: องค์ประกอบเล็กๆ สู่ความฝันอันยิ่งใหญ่ ในการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ในทุกวันนี้ เซมิคอนดักเตอร์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่แทบทุกที่ โดยแอบซ่อนอยู่ภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในบทความนี้ เราจะพูดถึงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งนั่นคืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำกำลังหรืออุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ (power semiconductor device/power device) อันเป็นส่วนประกอบวงจรชนิดหนึ่งซึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้อุปสงค์ของอุปกรณ์ประเภทนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักรอุตสาหกรรม
Read More »แนวทางการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคต
ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้มีการเผยแพร่ข้อมูลอยู่แทบจะตลอดเวลา วิธีที่ปลอดภัยในการส่งผ่านข้อมูลสำคัญจึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยทาง Cisco มีการคาดการณ์ว่า การรับส่งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าเจ็ดเท่าในระหว่างปีพ.ศ. 2559 ถึงพ.ศ. 2564*1 ซึ่งผู้ที่ทำงานด้านไอทีทั้งหลายต่างก็ตระหนักถึงความท้าทายนี้ เห็นได้จากผลการวิจัยล่าสุดของโตชิบาที่แสดงให้เห็นว่า 52% ของธุรกิจในยุโรปมองว่าความปลอดภัยของข้อมูลเป็น 1 ใน 3 การลงทุนที่สำคัญอันดับต้นๆ ในปีนี้ แต่ถึงกระนั้น บรรดาธุรกิจต่างๆ ก็ยังไม่ค่อยรู้จักหรือตระหนักถึงเทรนด์และนวัตกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์เท่าไร และนี่คือจุดที่การเข้ารหัสเชิงควอนตัม หรือ Quantum Cryptography เข้ามาตอบโจทย์ ด้วยการใช้หลักการของควอนตัมฟิสิกส์ เทคโนโลยีนี้จะช่วยพาเราเข้าสู่ยุคสมัยของการติดต่อสื่อสารที่มีความปลอดภัยอย่างแท้จริง แต่การเข้ารหัสเชิงควอนตัมคืออะไร สามารถช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง และสามารถเข้ามาเสริมความปลอดภัยให้กับธุรกิจในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไรบ้าง
Read More »เมื่อโลกไซเบอร์หลอมรวมกับโลกกายภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีโตชิบามีวิสัยทัศน์ต่อโลกอนาคตนี้
ในยุคปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกล้วนถูกเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต เราได้เดินทางกันมาถึงจุดที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ในโลกไซเบอร์สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ยุคที่โอกาสทางธุรกิจเกิดขึ้นได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค และสิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ ในโลกกายภาพ อาทิ สถานะการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือระดับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า
Read More »