โตชิบา ชูบริการยกระดับ Cyber Resilience เสริมความแข็งแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และอุตสาหกรรม

ประเทศไทย – โตชิบา ยกทัพโซลูชันป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ร่วมงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 โชว์เทคโนโลยีสุดล้ำลดความเสี่ยงทางไซเบอร์เสริมความแข็งแกร่งแก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและอุตสาหกรรม ตั้งเป้าขยายธุรกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เจาะตลาดประเทศไทย

ปัจจุบันทั่วโลกเกิดเหตุการณ์การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการแพร่หลายในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางกายภาพเข้าสู่ระบบเครือข่าย ส่งผลให้ระบบควบคุมงานอุตสาหกรรม  (Industrial Control Systems: ICS) รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมระบบปิดที่มีความปลอดภัย ตกอยู่ในสภาวะเปราะบางและกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์มากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งความเสียหายทางการเงิน อุปกรณ์เครื่องจักรเองก็ไม่เพียงถูกทำลาย แต่ยังก่อให้เกิดความเสียหายด้านอื่นๆ ที่ไม่สามารถประเมินค่าอีกด้วย อาทิ ความเสียหายด้านทรัพย์สินทางปัญญา ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ และชื่อเสียงขององค์กร

จากรายงานของ Statista บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค ระบุว่า ประเทศไทยมีการลงทุนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยรวมเพิ่มขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ปี 2558 และคาดว่างบประมาณในส่วนนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 0.07% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568  ด้วยเหตุที่ตลาดมีความต้องการมากขึ้น อีกทั้งภาครัฐยังออกกฎข้อบังคับเข้มงวดขึ้นเพื่อยกระดับการปกป้องโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลาดโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในประเทศไทยจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โตชิบาได้พัฒนาโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยการบูรณาการจุดแข็งเรื่ององค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการผลิตที่สั่งสมมากว่า 140 ปี ผสานเข้ากับความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้แนวทางพัฒนาแบบ Intelligence Centric ทำให้โซลูชันหลักๆ ของโตชิบา ไม่เพียงช่วยป้องกันเหตุโจมตีทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างให้ระบบมีความทนทานหรือยืดหยุ่นต่อการถูกโจมตี (Cyber Resilience) ทำให้ระบบยังสามารถกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์เหมือนเดิมอีกด้วย ทั้งนี้ จากการนำโซลูชันดังกล่าวไปใช้ในโรงงานไฟฟ้าแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลข้อมูล (Visualization) และการตรวจจับ (Detection) เหตุโจมตีแบบเรียลไทม์ ณ จุดเข้าระบบ (Entry point) และพื้นที่ต่างๆ ทั่วระบบได้ โดยจะทำการวิเคราะห์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นและคอยติดตามตรวจสอบสถานการณ์อย่างเข้มงวด ช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบในภาพรวมสูงขึ้น และมีค่าใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งต่อซัพพลายเออร์และผู้ใช้ปลายทางมากที่สุด

ล่าสุด โตชิบาได้นำโซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์รุ่นเด่น มาร่วมจัดแสดงในงาน CEBIT ASEAN Thailand 2020 งานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ธุรกิจสตาร์ตอัป เอสเอ็มอี และบริษัทขนาดใหญ่ อาทิ โซลูชันด้านความปลอดภัยสำหรับระบบควบคุม CYTHEMIS™, CyberX, WaterFall และ Meister Series ซึ่งรองรับการทำงานแบบเรียลไทม์ ทั้งการแสดงผลข้อมูล การตรวจจับภัยคุกคาม และการแจ้งเตือน รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลทางเดียวจากระบบเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงาน (Operational Technology – OT) ไปสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology – IT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้

มร.ทาคาชิ อามาโนะ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของข้อมูล บริษัท โตชิบา ดิจิทัล โซลูชันส์ คอร์ปอเรชั่น

มร.ทาคาชิ อามาโนะ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท โตชิบา คอร์ปอเรชั่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของข้อมูล บริษัท โตชิบา ดิจิทัล โซลูชันส์ คอร์ปอเรชั่น เผยว่า “ในฐานะศูนย์กลางการผลิตแถวหน้าของภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยถือเป็นตลาดเป้าหมายที่สำคัญแห่งหนึ่งของโตชิบาในการขยายธุรกิจ  โซลูชันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบครบวงจร ซึ่งเกิดจากการผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโลกไซเบอร์และเทคโนโลยีกายภาพของเราเข้าด้วยกัน ภายใต้กิจกรรมขายรูปแบบต่างๆ รวมถึงบริการภาคสนามของเราที่ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุม โตชิบาพร้อมแล้วที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งแก่ระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในประเทศไทย ให้มีความทนทานหรือยืดหยุ่นต่อการถูกโจมตี (Cyber Resilience) ในลักษณะต่างๆ”

###

เกี่ยวกับโตชิบาคอร์ปอเรชั่น

โตชิบา คอร์ปอเรชั่น คือกลุ่มบริษัทที่ได้ควบรวมความรู้ความสามารถจากประสบการณ์กว่า 140 ปี ในการดำเนินธุรกิจหลากหลายประเภท ตั้งแต่ธุรกิจพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้ากับสุดยอดสมรรถนะด้านการประมวลผลข้อมูล ดิจิทัล และเทคโนโลยี AI และด้วยจุดแข็งอันโดดเด่นนี้ จึงได้ผลักดันให้โตชิบาวิวัฒนาการสู่การเป็นบริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลและการปฏิรูปเชิงดิจิทัล และก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี Cyber-Physical-Systems ของโลก 

ด้วยคำมั่นสัญญาจากกลุ่มบริษัทโตชิบา “คำมั่นสัญญาต่อประชาชน คำมั่นสัญญาต่ออนาคต” (“Committed to People, Committed to the Future”) โตชิบามุ่งมั่นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมผ่านการบริการและโซลูชันต่างๆ เพื่อนำไปสู่โลกที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทโตชิบามีพนักงานในองค์กรกว่า 130,000 คนทั่วโลก ในปีงบประมาณ 2019 บริษัทสร้างรายได้ถึง 3.4 ล้านล้านเยน (31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ)

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโตชิบาได้ที่เว็บไซต์ www.toshiba.co.jp/worldwide/about/index.html

เกี่ยวกับโตชิบาดิจิทัลโซลูชันส์คอร์ปอเรชั่น

บริษัท โตชิบา ดิจิทัล โซลูชันส์ คอร์ปอเรชั่น เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านดิจิทัล โซลูชัน ของกลุ่มบริษัท    โตชิบา ทำหน้าที่ให้บริการด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายและเทคโนโลยี (System Integration) และดิจิทัล โซลูชัน ต่างๆ แก่องค์กรที่ต้องการเร่งเครื่องพัฒนาและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในธุรกิจ อีกทั้งยังมีบทบาทหลักในการผลักดันโตชิบาให้ก้าวสู่การเป็นบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี Cyber-Physical ระดับโลก ที่มีขีดความสามารถขั้นสูงครอบคลุมตั้งแต่ระบบการผลิตไปจนถึงเทคโนโลยี AI

ปัจจุบัน โตชิบา ดิจิทัล โซลูชันส์ คอร์ปอเรชั่น ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคม ผ่านการบริการและโซลูชันต่างๆ เพื่อนำไปสู่โลกที่ดียิ่งขึ้น ตามคำมั่นสัญญาของกลุ่มบริษัทโตชิบา “คำมั่นสัญญาต่อประชาชน คำมั่นสัญญาต่ออนาคต” (“Committed to People, Committed to the Future”)

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …