NIA ผนึก 12 องค์กรพันธมิตรดำเนินโครงการ Inno4Farmers:The First AgTech Co-creation Program เปิดรับสตาร์ทอัพภาคเกษตรที่มีเทคโนโลยีดีพเทคตั้งแต่วันนี้ถึง 12 ก.คนี้หวังเชื่อมต่อความร่วมมือองค์กรภาคเกษตรชั้นนำของประเทศเพื่อนำนวัตกรรมมาแก้ปัญหาและยกระดับภาคเกษตรไทยให้แข่งขันในเวทีโลกได้
ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) หรือ NIA กล่าวว่า สนช.โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center, ABC center) จัดโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพเกษตรในแบบ Co-creation ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของไทยในการเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ทำงานจริงร่วมกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำในภาคธุรกิจการเกษตรที่จะมาร่วมเป็นที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจผ่านประสบการณ์และมุมมองการหาปัญหาที่แท้จริงรวมทั้งร่วมสร้างสรรค์แนวทางการทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดีฟเทคให้เกิดการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรในแนวทางใหม่ๆ รวมถึงการต่อยอดและเชื่อมต่อทางธุรกิจร่วมกันได้ต่อไป
เป้าหมายในการดำเนินงานโครงการนี้มุ่งหวังการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิต และมูลค่าเพิ่มของผลผลิต ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายเกษตร 4.0 และ BCG model ของรัฐบาล อีกทั้งช่วยยกระดับภาคเกษตรไทยให้แข่งขันในเวทีโลกได้
ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบ่มเพาะสตาร์ทอัพในครั้งนี้จะเน้นไปที่การเชื่อมต่อทางธุรกิจที่จะเกิดการร่วมมือกันทำงานระหว่างสตาร์ทอัพและองค์กรพันธมิตรชั้นนำในภาคเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ให้สตาร์ทอัพสายเกษตรได้ลงมือทำงานจริงกับลูกค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันองค์กรที่ร่วมโครงการ ก็จะได้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์แก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดธุรกิจจริงๆ ต่อไปในอนาคต มีพันธมิตรที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น12บริษัท ที่ครอบคลุมด้านการเกษตรสำคัญของประเทศไทยคือ กลุ่มข้าว ได้แก่ 1) บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด2) บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด กลุ่มมันสำปะหลัง ได้แก่ 3) บริษัท สงวนวงษ์ อุตสาหกรรม จำกัด กลุ่มอ้อย ได้แก่ 4) บริษัท น้ำตาล บุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มปาล์ม ได้แก่ 5) กลุ่มทักษิณปาล์มกลุ่มผลไม้ ได้แก่ 6) บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กลุ่มข้าวโพด ได้แก่ 7) บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)8) บริษัท วี ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด กลุ่มปศุสัตว์ 9) บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ 10) บริษัท มานิตย์ เจเนติกส์ จำกัดกลุ่มเพาะปลูกผัก ได้แก่ 11) บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด และกลุ่มเครื่องจักรทางการเกษตร ได้แก่ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
สำหรับสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระยะเริ่มต้น ที่ต้องมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเอง และเป็นเทคโนโลยีในเชิงลึก เช่น กลุ่มที่ Artificial Intelligent, Big data -IoT-Sensors, Drones, Robotics เป็นต้นเป็นต้น ตลอดระยะเวลาโครงการสตาร์ทอัพจะได้รับประสบการณ์ในการทำงานจริงกับองค์กรชั้นนำ และได้รับโจทย์ทางธุรกิจจริงๆ จากองค์กรที่ร่วมโครงการ โดยจะมีการให้ความรู้ทั้งทางด้านธุรกิจและต่อยอดทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เทคโนโลยีที่มีนั้นแข็งแกร่งขึ้น รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ให้คำแนะนำตลอดโครงการ เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมได้อย่างตรงจุด และสามารถต่อยอดธุรกิจต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง
“ถือเป็นโอกาสที่สตาร์ทอัพที่สนใจจะพัฒนานวัตกรรมเพื่อภาคเกษตรกรรมจะได้เติบโตอย่างก้าวกระโดดขณะเดียวกันองค์กรพันธมิตรที่ร่วมโครงการก็จะได้นวัตกรรมไปแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ ถือเป็นความร่วมมือที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ที่ถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างระบบนิเวศของการขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศ”ดร. พันธุ์อาจกล่าวสรุป
ทั้งนี้เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพตั้งแต่วันนี้ ถึง 12 กรกฎาคม2563 โดยสามารถสมัครร่วมโครงการผ่านทางออนไลน์ได้ http://inno4farmers.nia.or.thหรือสแกน QR codeและดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook : @Inno4FarmersbyABCCenterหรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่081-372 9163(มณฑา) อีเมล montha@nia.or.th
###