ฟอร์ติเน็ตจัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค 361° Security 2019 Conference

โชว์นวัตกรรมและกลยุทธ์ใหม่โดยใช้ระบบความปลอดภัยไซเบอร์ป้องกันและขับเคลื่อนเครือข่ายในทุกส่วนขององค์กร 

ภาพประกอบข่าว: นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ (ยืนกลาง) รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ (ยืนที่ 14 จากซ้าย) ผู้จัดการประจำประเทศไทย  นำทีมผู้บริหารแห่งฟอร์ติเน็ต จัดงานประชุมระดับภูมิภาคด้านเทคโนโลยึความปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี “Fortinet 361° Security 2019 Cybersecurity Conference” พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญ อาจารย์ปริญญา หอมเอนก ประธานและผู้ก่อตั้งบริษัท บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ยืนที่ 14 จากขวา) และพันธมิตรเทคโนโลยีต่างๆ หลายท่านร่วมให้การบรรยายเมื่อเร็วๆ นี้

กรุงเทพฯ, 27  สิงหาคม 2562 Fortinet® (NASDAQ: FTNT) ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบบูรณาการและอัตโนมัติประกาศจัดงานประชุมระดับภูมิภาคด้านเทคโนโลยึความปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี “Fortinet 361° Security 2019 Cybersecurity Conference” ในหลายเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงเมื่อเร็วๆ นี้ โดยเน้นถึงการแบ่งปันข้อมูลและกลยุทธ์ใหม่ๆ ในการปกป้องเครือข่ายธุรกิจในโลกที่มีการเชื่อมโยงกันสูงมากในทุกวันนี้

การประชุมระดับภูมิภาค Fortinet 361 ° Security 2019 ในครั้งนี้เป็นการรวมผู้บริหารของฟอร์ติเน็ต ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์และพันธมิตรเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะร่วมมือกันแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการปลดล็อกศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างปลอดภัย อันจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถพัฒนาธุรกิจ เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างอนาคตขององค์กรของตนที่ต้องการได้อย่างมั่นใจ การอภิปรายประเด็นสำคัญและการเสวนาในแต่ละช่วงได้ครอบคลุมหัวข้อที่เป็นประโยชน์ อันรวมถึง ลักษณะของภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย โครงข่ายที่มีลักษณะขยายกว้างมากขึ้นในปัจจุบัน และวิธีการที่กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆ 

ทั้งนี้ นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกงแห่งฟอร์ติเน็ต ได้กล่าวว่า “ในโลกวันนี้ ที่มีการเชื่อมโยงกันมากมาย จนแทบจะแยกกันไม่ออก ที่เรียกว่า Hyper-connected world นั้น ข้อมูลจะเคลื่อนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รวมถึง มัลติคลาวด์ ไอโอทีและอุปกรณ์พกพาต่างๆ  ซึ่งทำให้เครือข่ายที่ทันสมัยจำเป็นต้องมีศักยภาพในการบังคับและใช้การรักษาความปลอดภัยที่สม่ำเสมอกันทั่วทั้งเครือข่าย ระบบต่างๆ ในเครือข่ายทำงานเต็มประสิทธิภาพ เพื่อปกป้องให้เวิร์กโฟลว์ในทราฟฟิคในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายนั้นปลอดภัย จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ของการประชุมในปีนี้ที่มุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยระบบความปลอดภัย (Security-Driven Networking) ซึ่งหมายถึงการบูรณาการรวมระบบเครือข่ายและระบบความปลอดภัยเข้าด้วยกัน เป็นแนวคิดนี้จะเป็นรากฐาน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถออกแบบและปรับใช้แอปพลิเคชั่นและบริการที่สำคัญทางธุรกิจได้เร็วขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ขณะที่มีระดับความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเท่ากันทั่วทั้งเครือข่าย” 

ดร. รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโสวิศวกรรมระบบความปลอดภัยไซเบอร์ แห่งฟอร์ติเน็ตประเทศไทย กล่าวว่า “การปฏิรูปด้านดิจิทัลมีบทบาทสำคัญ ส่งผลบังคับให้องค์กรทุกขนาดและในทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องประเมินประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยเดิมที่องค์กรใช้อยู่นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในองค์กรประเภทที่ถือว่าเครือข่ายมีความละเอียดอ่อนสูงและสำคัญ เช่น หน่วยงานรัฐบาล สถาบันทางการเงินและด้านการสาธารณสุข ที่มักจะเก็บข้อมูลที่มีค่าสูงที่เกี่ยวกับบุคคล ธุรกรรมทางการเงินและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ จึงทำให้เครือข่ายมีข้อมูลที่มีค่าเหล่านี้ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามสมัยใหม่หลากหลายประเภทได้ อาทิ แรนซัทแวร์ ฟิชชิ่ง และดีดอส ซึ่งมีเป้าหมายที่จะขู่กรรโชกหรือขัดขวางการทำงานของเครือข่าย อีกทั้งในประเทศไทยที่มีเรื่องของพระราชบัญญัติการรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์และพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคลที่บังคับใช้ไปตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ผู้นำธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าในอนาคตเพื่อให้องค์กรของตนเองสามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมเครือข่ายที่ทวีความซับซ้อนนี้มากขึ้น และสอดคล้องกับกฏข้อบังคับใหม่ๆเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ ในขณะที่องค์กรต่างๆ พัฒนาโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่าย ระบบนิเวศ ธุรกิจ สังคมและชีวิตส่วนตัวจนแยกจากกันได้ยากนี้ ความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องพัฒนาไปในทางเดียวกัน คือแยกจากกันได้ยากเช่นกัน” 

ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตได้เลือกกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองแรกในการจัดการประชุมระดับภูมิภาค Fortinet 361° Security 2019 ในวันพุธที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมานี้ไปเรียบร้อยแล้ว และจะจัดงานประชุมเชิงวิชาการในลักษณะเดียวกันที่เมืองจาการ์ตา (28 สิงหาคม) มะนิลา (4 กันยายน) ย่างกุ้ง (12 กันยายน) กัวลาลัมเปอร์ (19 กันยายน) โฮจิมินห์ (22 ตุลาคม) ฮานอย (24 ตุลาคม) ฮ่องกง (31 ตุลาคม) และสิงคโปร์ (6 พฤศจิกายน) ทั้งนี้ คาดว่างานระดับภูมิภาคประจำปีนี้จะสามารถดึงดูดให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในองค์กรต่างๆ มากกว่า 1,500 คนมาร่วมงานและรับความรู้จากผู้บรรยายที่ล้วนเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหลายท่าน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับประโยชน์จากความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ล่าสุด นวัตกรรมและกลยุทธ์ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลและทรัพยากรทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอีกด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงาน Fortinet 361° Security 2019  กรุณาเยี่ยมชมที่ https://seahk-361security-2019.fortinetasia.com 

ท่านสามารถติดตามดูภาพในงาน Fortinet 361° Security 2019  ทั้งหมดได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1fVsGMhGU-zdru_yLXUt12ra4fh3u-rie?usp=sharing  

ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียด

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ และหน่วยงานรัฐบาล ขนาดใหญ่ทั่วโลกให้พ้นจากภัยไซเบอร์ ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกในภัยคุกคาม และสร้างการป้องกันที่ชาญฉลาดให้ธุรกิจลูกค้าดำเนินไปอย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาต่อเครือข่ายไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ทั้งนี้ เครือข่ายด้านความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบลิคอันเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่สามารถมอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ โมบาย หรือไอโอที ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการจัดส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 400,000 รายทั่วโลกไว้วางใจฟอร์ติเน็ตให้ปกป้องธุรกิจของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com   และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs  

About naruethai

Check Also

รายงานของซิสโก้เผย บริษัทในเอเชีย-แปซิฟิกเผชิญการแจ้งเตือนภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์เนื่องจากการทำงานจากที่บ้าน

ความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับหนึ่งขององค์กรไทยส่วนใหญ่คือ “การเข้าถึงอย่างปลอดภัย” ประเด็นข่าว:  69% ขององค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกเผชิญปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ หรือการแจ้งเตือนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 25% นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด54% ขององค์กรในภูมิภาคนี้มีความพร้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขณะที่ 7% ไม่พร้อมที่จะรองรับการทำงานจากที่บ้านในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดองค์กร 85% มองว่าในตอนนี้ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความสำคัญอย่างมาก หรือมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

แคสเปอร์สกี้พบความเชื่อมโยงการโจมตี SolarWinds กับแบ็คดอร์ Kazuar

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา ทาง FireEye, Microsoft และ SolarWinds แจ้งข่าวการค้นพบการโจมตีซัพพลายเชนด้วยมัลแวร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนชื่อว่า “Sunburst” เป็นปฏิบัติการขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนที่เข้าโจมตีลูกค้าของ SolarWinds’ Orion IT โดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความคล้ายคลึงหลายจุดในโค้ดของ …