สถาบันพลาสติก จับมือ เอ็มเฟค นำเทคโนโลยีไอโอที พัฒนาผู้ประกอบการไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

 สถาบันพลาสติกจับมือเอ็มเฟค ร่วมเซ็นเอ็มโอยู เปิดบริการพัฒนาผู้ประกอบการพลาสติกสู่อุตสาหกรรมพลาสติก 4.0 ด้วยเทคโนโลยี ไอโอที (IOT) ซึ่งเป็นการนำไอโอทีมาใช้ในอุตหสาหกรรม  พลาติกเป็นครั้งแรกและที่เดียวในไทย โดยมี ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

สถาบันพลาสติก – วันที่ 14 มีนาคม 2562 – ดร.เกรียงศักดิ์  วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก เปิดเผยว่า สถาบันพลาสติกได้เปิดบริการพัฒนาผู้ประกอบการพลาสติกสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยร่วมเซ็นเอ็มโอยูกับ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือเอ็มเฟค  ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานสารสนเทศอย่างครบวงจร เพื่อบริการพัฒนาผู้ประกอบการพลาสติก ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการใช้เทคโนโลยีไอโอที หรือ อินเทอร์เน็ต  ออฟ ธิงค์ (Internet of Things: IOT) และนับว่าเป็นครั้งแรกและที่เดียวในประเทศไทยสำหรับการนำไอโอทีมาใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก  

ทั้งนี้ได้รับเกียรติ จาก ดร.สมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความสำคัญ ของอินดัสทรี 4.0 กับการพัฒนาประเทศ” ณ อาคารต้นกล้าแกลอรี่ ศูนย์ปฏิรูป-อุตสาหกรรมสู่อนาคต สถาบันพลาสติก กระทรวงอุตสาหกรรม กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ

ดร. เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจของสถาบันพลาสติก พบว่าจำนวนสถานประกอบการทั้งหมดที่มีประมาณ 3,000 ราย โดยกว่า 80% เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่มีรูปแบบการผลิตที่เน้นปริมาณ มีการนำระบบช่วยการผลิตเข้ามาประยุกต์ใช้บ้าง แต่ยังคงมีการใช้แรงงานเป็นส่วนสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเริ่มประสบปัญหาด้านแรงงาน การวิเคราะห์และตัดสินใจ  ทำให้ต้องหาแนวทางแก้ไข ซึ่งหลักการของอุตสาหกรรมดิจิทัล และแนวทางการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องเหล่านี้

“ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก ส่วนหนึ่งยังขาดพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0          บางประการ ซึ่งก็คือการเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต ร่วมกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (sensor) ต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรหรือเครื่องขึ้นรูปพลาสติก    

การติดตั้งอุปกรณ์ ไอโอที (Internet of Things :IOT)  ให้กับเครื่องขึ้นรูปพลาสติกนี้ เป็นบันไดขั้นแรกสู่การปฏิวัติสถานประกอบการ” ดร. เกรียงศักดิ์  กล่าว

ด้านนายธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (ซีโอโอ) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็มเฟค เปิดเผยว่า ความร่วมมือครั้งนี้ เอ็มเฟคจะเป็นผู้ให้บริการคำปรึกษา ออกแบบ แพลตฟอร์ม การใช้งานภายในองค์กรของผู้ประกอบการพลาสติก รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์และเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมกับกระบวนการขึ้นรูปต่าง ๆ หลากหลายชนิด ช่วยให้สถานประกอบการ มีต้นทุนที่ได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งด้านข้อมูล แรงงาน เทคโนโลยี ประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น

“บริษัทฯ เป็นผู้พัฒนาโซลูชั่นไอโอที สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกในครั้งนี้ โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ และแพลตฟอร์มเข้ากับเครื่องขึ้นรูปพลาสติก เพื่อดึงข้อมูล จัดเก็บ และจัดเรียงข้อมูล นำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหา พัฒนากระบวนการผลิต และการวิเคราะห์หาต้นทุนที่ถูกลง รวดเร็วและคุ้มค่ามากที่สุด โดยจะประมวลผลผ่านระบบคลาวด์  การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต ทราบสภาวะการผลิตได้ทันที ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน้ตบุค  แทบแล็ต  หรือสมาร์ทโฟน  นอกจากนั้นยังดูแลรักษาเครื่องจักรโดยสามารถออกแบบการซ่อมบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังลดอัตราการเกิดการหยุดทำงาน (break down) ของเครื่องจักรได้อีกด้วย” 

นายธนกร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เอ็มเฟค มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวสู่ยุคที่ 4.0 โดยที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีโอกาสให้คำปรึกษา พัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับบริษัทวิสาหกิจทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งนี้บริษัทฯยังมีศูนย์วิจัยและพัฒนาที่เน้นการพัฒนาโซลูชั่นจากประสบการณ์ ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ  ที่หลากหลาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mfec.co.th”  

###

About naruethai

Check Also

แถลงการณ์ต่อสื่อเรื่อง กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ สอบสวนหัวเว่ย

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562 หนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังสอบสวนหัวเว่ย เรื่องสิทธิบัตรของกล้องในสมาร์ทโฟน ซึ่งมีการกล่าวหาว่าหัวเว่ยทำการขโมยเทคโนโลยี ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด หัวเว่ยต้องการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเหล่านี้ ซึ่งรวมไปถึงการสอบสวนล่าสุดโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล …

DGA เปิดศักราชใหม่ในการบริการภาครัฐให้สะดวกขึ้นด้วย พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล “เชื่อมโยง โปร่งใส ปลอดภัยด้วยธรรมาภิบาลข้อมูล”

พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลพ.ศ. 2562 หรือพ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2562 แล้วนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการบริการภาครัฐให้สะดวกขึ้นโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ