กระทรวงวัฒนธรรม เปิดตัว โครงการศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture) รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเข้าถึงง่าย เพื่อความมั่นคงทางวัฒนธรรม

กระทรวงวัฒนธรรม เปิดตัว โครงการศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture) รวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรมจำนวนมหาศาลอย่างบูรณาการภายในหน่วยงาน 9 หน่วยงาน และข้อมูลกว่า 3 แสนรายการ  พร้อมทั้งให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย   

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม   กล่าวในงานแถลงข่าว โครงการศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture) ว่า จากวิสัยทัศน์ของกระทรวงวัฒนธรรมที่กำหนดบทบาท “วัฒนธรรมสร้างคนดี สร้างสังคมดี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ประกอบกับเทคโนโลยีมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยี  

พร้อมกันนั้นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ที่ต้องการสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการและบริการภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพเข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการ และการบริหารจัดการของหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดทำโครงการ “ศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture)” เพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูลด้านวัฒนธรรมใน 9 หน่วยงาน และข้อมูลเชิงพื้นที่กว่า 3 แสนรายการ  ที่รวบรวมจากหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย และประชาชน นำมาประมวลผล วิเคราะห์ และจัดทำรายงาน

“โครงการศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (Digital Culture)  เป็นระบบที่รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมที่มีปริมาณมหาศาล จากหน่วยงานภายในกระทรวงวัฒนธรรม โดยใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจและเปิดเผยสู่ประชาชน ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งยังจะบูรณาการข้อมูลด้านวัฒนธรรมจากแหล่งต่างๆ ภายนอกกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้เป็นระบบศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมระดับชาติ ทั้งยังเอื้อให้ประชาชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา สามารถค้นหาข้อมูลความรู้ได้อย่างกว้างขวาง และสามารถนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ”  

ศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม หรือ Digital Culture สามารถใช้งานได้ที่ http://digital.m-culture.go.th/  ประกอบด้วยข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์ ด้านคุณธรรม ด้านศาสนา และด้านศิลปวัฒนธรรม  นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังได้จัดทำระบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และนำไปต่อยอด ดังนี้ 

1. ระบบการสร้างองค์ความรู้ วีดิทัศน์ ภาพ งานวิจัย บทความ สำหรับประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปโดยประชาชนหรือผู้สนใจทั่วไปสามารถสมัครสมาชิกเพื่อสร้าง แก้ไข องค์ความรู้ งานวิจัย บทความด้านวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนผู้สนใจสามารถค้นคว้า หาความรู้ด้านวัฒนธรรมได้ 

2. ระบบการสืบค้น (Search) องค์ความรู้ วีดิทัศน์ ภาพ บทความ และกิจกรรมด้านวัฒนธรรมให้บริการแก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป โดยสามารถกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ที่ใช้ในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลได้ด้วยตนเอง และสามารถส่งออก (Export) ข้อมูลจากหน้าการสืบค้น (Search) องค์ความรู้ วีดิทัศน์ ภาพ งานวิจัย บทความ และกิจกรรมด้านวัฒนธรรมได้

“นอกจากการรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมที่มีอยู่จำนวนมหาศาลแล้ว การนำข้อมูลออกมาเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างถูกต้องและเข้าถึงง่ายก็มีความสำคัญ  กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนในลักษณะของบริการผู้ช่วยอัจฉริยะ หรือ แชตบ็อต บนเฟซบุ๊ค  และเว็บไซต์ ก็ยิ่งมีความจำเป็น  ซึ่งทางกระทรวงฯ ได้จัดทำช่องทางสื่อสารอย่างครบวงจร”  รมว กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวทิ้งท้าย 

###

About naruethai

Check Also

DGA เปิดศักราชใหม่ในการบริการภาครัฐให้สะดวกขึ้นด้วย พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล “เชื่อมโยง โปร่งใส ปลอดภัยด้วยธรรมาภิบาลข้อมูล”

พ.ร.บ. การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลพ.ศ. 2562 หรือพ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 23 พฤษภาคม 2562 แล้วนับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการบริการภาครัฐให้สะดวกขึ้นโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศ 

ศาลฎีกาพิพากษาให้ข่าวของอินโฟเควสท์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ – สร้างบรรทัดฐานให้วงการสื่อมวลชนไทย

กรุงเทพฯ 2 เมษายน 2562 – ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ได้มีคำพิพากษาเป็นที่สุดแล้ว วินิจฉัยให้งานสร้างสรรค์ประเภทบทความ รายงานพิเศษ และบทสัมภาษณ์ของอินโฟเควสท์เป็นงานอันมีลิขลิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และตัดสินให้อินโฟเควสท์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการถูกละเมิดโดยการทำซ้ำงานและเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต  นับเป็นคดีแรกเกี่ยวกับการละเมิดงานข่าวที่ขึ้นถึงชั้นศาลฎีกา เป็นการยกระดับความสำคัญในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในวงการสื่อสารมวลชนไทย