เดลล์ อีเอ็มซีชี้องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นคือผู้นำระดับโลก ด้านปฏิรูปไอที (IT Transformation) แต่ยังมีงานที่ต้องทำต่ออีกมาก

ผลการศึกษาเผย ยุคการแข่งขันของการปฏิรูปไอที มีองค์กรเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ในเอเชียแปซิฟิก ที่มาถึงจุด “ปฏิรูปสำเร็จ”

สรุปประเด็นข่าว

  • เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลสำรวจที่ได้จากการศึกษาการเติบโตของการปฏิรูปไอที (IT Transformation) ในบรรดากลุ่มผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
  • ไม่ถึง 1 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ที่ปฏิรูปสำเร็จ
  • องค์กรที่ปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะทำรายได้ทะลุเป้าที่ตั้งไว้ ถึง 2.5 เท่า
  • องค์กรที่ปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นถึง 37.5 เท่า

เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลการศึกษา ที่จัดทำขึ้นโดย ESG (Enterprise Strategy Group) ในแง่ประโยชน์ของการปฏิรูปไอทีในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น รวมถึงการเติบโตด้านไอทีในภูมิภาคดังกล่าวเมื่อเทียบกับที่อื่นในโลก

การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่าองค์กรในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีความเข้าใจว่าเทคโนโลยีใหม่และกระบวนการทำงานรูปแบบใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ที่ช่วยให้ยืนหยัดและแข่งขันได้ในสภาพเศรษฐกิจดิจิทัล ณ ปัจจุบัน ในขณะที่ภาพรวมของธุรกิจทั่วโลกยังอยู่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลง พร้อมกับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และองค์กรเช่นสตาร์ทอัพ กำลังนำเทคโนโลยีมาใช้ในแนวทางใหม่ที่เป็นนวัตกรรม โดยองค์กรเหล่านี้ กำลังปฏิรูปไอทีเพื่อช่วยให้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น และยืดหยัดอยู่ท่ามกลางการแข่งขันได้ อีกทั้งยังช่วยผลักดันไปสู่การปฏิรูปทางดิจิทัล

การศึกษาของ ESG เกี่ยวกับการเติบโตของการปฏิรูปไอทีในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2018 (2018 IT Transformation Maturity Study in APJ) ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยเดลล์ อีเอ็มซี และอินเทล คอร์ปอเรชัน มีผู้เข้าร่วมการสำรวจ 1,374 รายจากออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และฮ่องกง โดยมีการแบ่งกลุ่มองค์กรต่างๆ ออกเป็น 4 ประเภท ตามความคืบหน้าในการปฏิรูป ได้แก่องค์กรดั้งเดิม (Legacy) องค์กรที่เพิ่งเริ่ม (Emerging) องค์กรที่มีพัฒนาการที่ดี (Evolving) และองค์กรที่ปฏิรูปแล้ว (Transformed) โดย องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว (Transformed) ยังรวมถึงองค์กรที่ปฏิรูปไอทีมาไกลมากจากจุดเริ่มต้น และองค์กรดั้งเดิม (Legacy) รวมถึงองค์กรที่ยังไปไม่ถึงไหนในหลายๆ ปัจจัย

จากการศึกษาพบว่า

  • บรรดาบริษัทในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะปฏิรูปสำเร็จ อยู่ที่ 8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับที่อื่นของโลกซึ่งอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์
  • 90 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทต่างๆ ล้วนตกอยู่ในภาวะกดดันที่ต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์และการบริการได้เร็วขึ้น ซึ่งต้องอาศัยแนวทางด้านไอทีที่ให้ความคล่องตัวได้มากยิ่งขึ้น
  • 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจ กล่าวว่าองค์กรตนกำลังดำเนินการตามความริเริ่มในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงแรกของการดำเนินการ อยู่ระหว่างกระบวนการ หรือมีความก้าวหน้าในการดำเนินการก็ตาม
  • 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ปฏิรูปแล้ว มองว่าปกติแล้วองค์กรตนนำหน้าในการแข่งขันในตลาดได้อย่างเท่าทันต่อเวลา

“เราเห็นถึงการมุ่งเน้นอย่างจริงจังในเรื่องความคล่องตัว และความเร็วในการทำธุรกิจรวมถึงนวัตกรรมขององค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น” อมิต มิธา ประธานฝ่ายคอมเมอร์เชียล ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เดลล์ อีเอ็มซี กล่าว “ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วง “เพิ่งเริ่ม” และ “กำลังพัฒนา” ในแง่ของการเติบโตด้านไอที ซึ่งดูเป็นการเริ่มต้นที่มีแนวโน้มไปในทางที่ดี และเราก็เห็นถึงความมุ่งมั่นของภาคพื้นดังกล่าวในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการปฏิรูป รวมถึงการครองส่วนแบ่งตลาดและรักษาการเติบโตในอนาคต  ความมุ่งมั่นดังกล่าวยังคงขับเคลื่อนภูมิภาคให้ยืนหยัดอยู่แถวหน้าในการปฏิรูปทางดิจิทัลทั่วโลกได้ต่อไป”

เดวิด เว็บสเตอร์ ประธาน ฝ่ายธุรกิจเอ็นเตอร์ไพร์ซประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าวเสริม “ความสำคัญของการปฏิรูปไอทีและดิจิทัล ทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นหัวข้อสำคัญในการประชุมผู้บริหาร ในขณะที่ฝ่ายไอทีในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ยังคงเดินหน้าต่อเพื่อกำหนดบทบาทตนเองในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางธุรกิจเมื่อเทียบกับองค์กรที่ทัดเทียมทั่วโลก เพราะภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมีนัย  การลงทุนในเทคโนโลยีหลักในภูมิภาคดังกล่าวนับว่าสูงกว่าที่อื่นทั่วโลก ซึ่งสร้างความเป็นไปได้มหาศาลในการปฏิรูป และประสบความสำเร็จในการทำให้เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทางธุรกิจ”

การศึกษาการเติบโตของการปฏิรูปไอทีของ ESG ประจำปี 2018

การศึกษาการเติบโตของการปฏิรูปไอทีจากการวิจัยในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ตาม ข่าวประชาสัมพันธ์ ของ ESG’s 2018 IT Transformation Maturity Study ที่ออกมาก่อนหน้าในปีนี้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับสภาวการณ์ด้านการปฏิรูปไอทีทั่วโลก ซึ่งประโยชน์ที่ธุรกิจได้รับถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของบริษัท รวมถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการปฏิรูปไอที  นอกจากนี้ การศึกษาที่สนับสนุนการจัดทำโดยเดลล์ อีเอ็มซี และอินเทล คอร์ปอเรชัน ยังพิสูจน์ได้ว่าการปฏิรูปไอทีส่งผลให้ได้รับประโยชน์ปลายทางคือการผลักดันไปสู่การสร้างนวัตกรรม สร้างความแตกต่างทางธุรกิจ และสร้างการเติบโต

การเติบโตของไอทีในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

ผลการรายงานในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก แสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันต่อเนื่องอย่างจริงจังของการปฏิรูปไอทีที่กำลังโลดแล่นในภูมิภาคดังกล่าว ความสำคัญที่ว่ามาจากการที่ผู้ตอบสำรวจมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการปฏิรูปไอทีและการปฏิรูปดิจิทัล รวมถึงความกดดันในเรื่องของเวลาในการนำสินค้าลงสู่ตลาด และความต้องการในการลดต้นทุนให้ได้มาก สิ่งที่คล้ายกับผลการรายงานทั่วโลกก็คือ องค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกที่ปฏิรูประบบไอทีของตนก็จะดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องมากกว่าองค์กรที่มีคะแนนการเติบโตน้อยกว่า โดยในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

  • องค์กรที่ปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และเร็วขึ้นถึง 39.5 เท่าเมื่อเทียบกับการแข่งขัน
  • องค์กรที่ปฏิรูป มีแนวโน้มที่จะนำแอปพลิเคชันทั้งหมดมาปรับใช้งานได้สำเร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนด
  • องค์กรที่ปฏิรูป ใช้เวลาน้อยลงถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ในการสนับสนุนการทำงานของแอปพลิเคชันสำคัญทางธุรกิจ

การเติบโตของไอที ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุน เมื่อเทียบกับทั่วโลก

เพื่อให้แข่งขันได้ในการแข่งด้านนวัตกรรม องค์กรในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ยังคงสร้างระบบโครงสร้างไอทีแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง และนำหน้าภูมิภาคอื่นของโลกในแง่ของการนำเทคโนโลยีบางประเภทมาใช้งาน อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าผู้นำธุรกิจในภูมิภาคนี้ยังคงตามหลังผู้ที่ทัดเทียมกันในระดับโลก ในเรื่องความเข้าใจว่าจะนำไอทีมาปรับให้เข้ากับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจส่วนไหนได้บ้าง และจะแปลงการปฏิรูปไอทีไปสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจในภาพรวมได้อย่างไร  โดยในเอเชียแปซิฟิก

  • องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว จะนำหน้าองค์กรอื่นในโลก ในแง่ของการขยายขีดความสามารถในการใช้สตอเรจ – 70 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 65 เปอร์เซ็นต์
  • องค์กรที่ปฏิรูปแล้ว จะนำหน้าองค์กรอื่นในโลก ในแง่ของการนำแฟลชมาใช้งาน – 76 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 72 เปอร์เซ็นต์
  • 24 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรที่ปฏิรูปแล้ว ในเอเชียแปซิฟิก มองไอทีว่าเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน เมื่อเทียบกับอีก 37 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่เหลือของโลก
  • มีความเป็นไปได้ที่ผู้นำไอทีจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ ในบริษัทที่ปฏิรูปแล้วซึ่งมีฐานอยู่ในเอเชียแปซิฟิก ในอัตรา 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 67 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่เหลือของโลก

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

###

เดลล์ เทคโนโลยีส์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่มอบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการสร้างอนาคตดิจิทัลให้แก่องค์กรธุรกิจ ทั้งปฏิรูปไอที และให้การปกป้องข้อมูลที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าทุกขนาดองค์กรใน 180 ประเทศ – เริ่มตั้งแต่ 99 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่จัดอันดับใน Fortune 500 ไปจนถึงลูกค้ารายย่อย – ด้วยสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดตั้งแต่เทคโนโลยีปลายทาง (Edge) สู่ส่วนกลางที่สำคัญ (Core) ตลอดจนถึงคลาวด์ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยแบรนด์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ เดลล์ เดลล์ อีเอ็มซี พิโวทอล อาร์เอสเอ ซิเคียวเวิร์คส์ เวอร์ทุสสตรีม และวีเอ็มแวร์

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …