มจธ. จับมือ หัวเว่ย สร้างบุคลากร AI ป้อนตลาดแรงงานทักษะสูง พร้อมมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์เพื่อเสริมทัพการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy

บรรยายภาพ:รศ. ดร. สุวิทย์แซ่เตียอธิการบดี (กลางซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และนายเจสันเผิง (กลางขวา) รองประธานบริหารกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน AI โดยมีผศ. ดร. ประเสริฐคันธมานนท์ (ที่ 2 จากซ้าย) รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร, ผศ. ดร. มณฑิรานพรัตน์ (ซ้ายสุด) รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ, นายชูโกะลี (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดและนายคมเดชเรืองเดชวรชัย (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายขายอุตสาหกรรมการศึกษากลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์บริษัทหัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัดพร้อมทั้งคณะผู้บริหารทั้งสองฝ่ายร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนาม

กรุงเทพฯ — เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมทักษะความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอซีทีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งป้อนแรงงานทักษะสูงเข้าตลาดแรงงาน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในโลกยุคดิจิทัล โดยมี รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายเจสัน เผิง รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนในการลงนาม

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับมจธ. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนด้าน AI ของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและสร้างรากฐานทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนผ่านโครงการไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต ตอบสนองความต้องการแรงงานทักษะสูงในตลาดเกิดใหม่ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการใช้ AI อย่างแพร่หลายในประเทศไทย 

นอกจากนี้ ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นายเจสัน เผิง ยังได้ส่งมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Huawei Cloud Computing Lab Equipment) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy โดยมี รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบอุปกรณ์ดังกล่าว

###

About naruethai

Check Also

โครงการฝึกอบรมทักษะดิจิทัล ‘Boost with Facebook’ สนับสนุนผู้ประกอบการจากชุมชนชายขอบทั่วไทย พร้อมเปิดตัวคู่มือพลิกสถานการณ์ ช่วย SME ฟื้นตัวร่วมกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย

นับตั้งแต่เปิดตัวในปี พ.ศ.2563 ได้มีการจัดฝึกอบรมแบบออฟไลน์ไปแล้ว 19 ครั้งและแบบออนไลน์ 27 ครั้ง เพื่อสนับสนุนธุรกิจทั่วประเทศ รวมถึงผู้ประกอบการที่มาจากกลุ่มหลากหลายและชุมชนชายขอบต่างๆ เช่น กลุ่มเพศทางเลือก กลุ่มผู้พิการ และชนกลุ่มน้อย เป็นต้นร้อยละ 60 …

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน-หัวเว่ย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

RMUTI NEXT GEN DIGITAL UNIVERSITY กรุงเทพฯ ประเทศไทย – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ชื่อ …