“ดีป้า” หนุน 10 ดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยผุดแพลตฟอร์มแก้ปัญหาเศษฐกิจ-สังคม หลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เร่งแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม หลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพตามเทคโนโลยีเป้าหมาย พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการหางาน และการเรียนรู้ทักษะดิจิทัล คาดเกิดเม็ดเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ตามที่ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มอบหมายให้ดีป้าร่วมเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตประชาชน และกระตุ้นภาคการลงทุนไทยให้กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง ภายหลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เยียวยาภาพรวมเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

และด้วยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ ดีป้า เร่งสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยตามเทคโนโลยีเป้าหมายทั้ง 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (AgTech) เทคโนโลยีเพื่อการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีเพื่อการบริการภาครัฐ (GovTech) เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HealthTech) เทคโนโลยีเพื่อการท่องเที่ยว (TravelTech) และเทคโนโลยีเพื่อการเพื่อการศึกษา (EdTech) ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการหางาน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการสามารถหา พัฒนา และคัดกรองบุคลากรด้านดิจิทัล ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมที่ขาดแคลนบุคลากรในสายงานดังกล่าว และช่วยเหลือคนตกงานกว่า 400,000 คนจากวิกฤตเศรษฐกิจ และโควิด-19 เพิ่มความรู้และทักษะด้าน Hard Skill และ Soft Skill แก่แรงงานสายอาชีพ ควบคู่ไปกับการนำเสนอช่องทางเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลในสาขาต่าง ๆ อาทิ Coding, Machine Learning รวมถึงการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) การสนับสนุนภาคธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวตามพื้นที่เป้าหมาย เพื่อรองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (นิว นอร์มอล)

โดยที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ครั้งที่ 7/2563 มีมติเห็นชอบโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนมาตรการเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund) จำนวน 10 โครงการที่จะเข้ามาสนองตอบปัจจัยต่าง ๆ ที่ ดีป้า พร้อมดำเนินการขับเคลื่อน ประกอบด้วย

  1. โครงการออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อการค้นหาและพัฒนาตนเองสู่อาชีพที่ใช่ในอุตสาหกรรมดิจิทัลด้วยระบบ WE Space โดย บริษัท เอ็ดไวซอรี่ จำกัด
  2. โครงการ AUTOPAIR Sales Management Platform โดย บริษัท ออโต้แพร์ จำกัด
  3. โครงการ FOXFOX โดย บริษัท ฟ็อกซ์ฟ็อกซ์ จำกัด
  4. โครงการ Abi: แพลตฟอร์มวัดทักษะสำหรับสถานศึกษาและจัดหาบุคลากรสำหรับบริษัท โดย นายภีศเดช เพชรน้อย
  5. โครงการ Quizmo (ควิซโม่) โดย นายพงศ์พันธ์ เหล่าเศรษฐานันท์
  6. โครงการเกมส์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้งและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดย นายรักษิต ชุติภักดีวงศ์
  7. โครงการ MANA (มานะ) ระบบบริหารทีมงานออนไลน์ โดย บริษัท แอลเอฟฟินเทค จำกัด
  8. โครงการ Container Truck Gate Automation โดย บริษัท เวริลี วิชั่น จำกัด
  9. โครงการตลาดรวมสินค้าการเกษตรและอาหารแช่แข็งออนไลน์ โดย นายชารีฟ เด่นสุมิตร
  10. โครงการพัฒนาและต่อยอดแพลตฟอร์มเช่ารถ Rent Connected โดยใช้ Artificial Intelligence และ Machine Learning เข้ามาช่วยโดย บริษัท เร้นท์ คอนเนคเต็ด จำกัด

ดีป้าพร้อมเป็นฟันเฟืองในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยความร่วมมือกับดิจิทัลสตาร์ทอัพในการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงซึ่งประเมินว่าโครงการต่างๆที่ได้รับความเห็นชอบในที่ประชุมฯจะทำให้เกิดมูลค่าการลงทุนในระบบเศรษฐกิจมากกว่ากว่า 20 ล้านบาท” ผู้อำนวยการใหญ่ดีป้ากล่าว

##

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …