บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและการปรับเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น

95% ของบริษัทในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
และจัดให้เป็นเรื่องสำคัญระดับสูงในแผนการดำเนินธุรกิจของตน

กรุงเทพฯ, ประเทศไทยบริษัท เร้ดแฮท อิงค์ (Red Hat, Inc) ผู้นำระดับโลกด้านโอเพ่นซอร์สโซลูชั่น ประกาศผลการศึกษาที่จัดทำโดย Harvard Business Review Analytic Services ในนามของเร้ดแฮท เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านและเส้นทางการใช้นวัตกรรมของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) เปรียบเทียบกับความเป็นไปในระดับโลก  การศึกษาภายใต้หัวข้อ “ความเข้าใจต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก” นี้ ได้ทำการสำรวจผู้บริหารธุรกิจจำนวน 143 คนจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งรวมถึงภาคบริการด้านการเงิน ไอที และภาคการผลิต

ผลการศึกษาระบุว่า บริษัทในเอเชียได้จัดให้การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ไม่เพียงสร้างการเติบโตเท่านั้น แต่เพื่อความอยู่รอดขององค์กรด้วย  ความแตกต่างของประสิทธิภาพในการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจในภูมิภาคนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญให้กับบริษัทในภูมิภาค เช่น ช่วยให้บริษัทส่งผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าธุรกิจประเภทเดียวกันในภูมิภาคอื่นทั่วโลก

ไฮไลต์สำคัญของรายงาน

  • ผู้บริหารใน APAC 95% กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลตลอดช่วงระยะเวลา 18 เดือนที่ผ่านมาทวีความสำคัญมากขึ้น
  • ผู้นำธุรกิจใน APAC 80% ได้จัดอันดับให้การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร มีความสำคัญเท่าเทียมกับการปรับเทคโนโลยีให้ทันสมัยเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
  • ผู้บริหารใน APAC 40% สามารถพัฒนาและเปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อเทียบกับผู้บริหารทั่วโลกแล้วมีเพียง 23% เท่านั้นที่ทำได้เช่นนี้ 

ผู้บริหารใน APAC เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นหนึ่งในสามรากฐานของการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยที่จะต้องทำไปพร้อม ๆ กับเรื่องเทคโนโลยีและกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งจะสร้างแรงผลักดันที่สำคัญต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน  ผู้ตอบแบบสำรวจได้กล่าวถึงวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทในปัจจุบันว่าประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น การทำงานร่วมกัน (44%) การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมโดยไม่มีการกีดกัน (42%) ความสามารถในการปรับตัว (41%) และความโปร่งใสในการทำงาน (40%)

นอกจากนี้ผลการศึกษายังระบุว่า บริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้น จะต้องสนับสนุนความคิดริเริ่มด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร พร้อมกับความพยายามในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่นให้ทันสมัย  ซึ่งเมื่อรวมความคิดริเริ่มทั้งสองประการนี้ไว้ด้วยกันจะช่วยให้บริษัทใน APAC กระทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ผู้ตอบแบบสอบถาม 75% เห็นว่าการใช้วิธีการในการให้บริการแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ
  • พัฒนาและช่วยให้เปิดตัวแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว (40%)
  • ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว (39%)
  • อัปเดตระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ (39%)
  • ควบคุมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาได้ (39%)

ผู้บริหารใน APAC มีแนวความคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่จะต้องลงทุนในอีก 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้าเพื่อรักษาความต่อเนื่องในการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล พวกเขาวางแผนที่จะลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ machine learning (40%) รวมถึงเพิ่มการลงทุนด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจที่ทำงานบนคลาวด์ 8% และด้านเครื่องมือระบบอัตโนมัติสำหรับกระบวนการทางธุรกิจ 6%

วิธีการสำรวจและผู้ตอบแบบสอบถาม

งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยได้รับมอบหมายจากเร้ดแฮท และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับโลกที่ชื่อว่า “Rethinking Digital” โดย Harvard Business Review (HBR) Analytic Services ได้ทำการสำรวจจากผู้อ่าน HBR จำนวนทั้งหมด 690 คน (ผู้อ่านนิตยสาร/จดหมายข่าว ลูกค้า ผู้ใช้งาน HBR.org) ซึ่งมาจากเอเชียแปซิฟิก 143 คน  ผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในตำแหน่งที่หลากหลายหน้าที่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ซึ่งรวมถึงการผลิต บริการด้านการเงิน เทคโนโลยี และบริการให้คำปรึกษา

คำกล่าวสนับสนุน

เซจีฟ บาห์ล รองประธานและหัวหน้าฝ่ายบริการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เร้ดแฮท

“ปัจจุบันนี้ธุรกิจหลายแห่งถูกกดดันให้ส่งมอบผลิตภัณฑ์และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็วและเปี่ยมประสิทธิภาพ บริษัทต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกเป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งช่วยให้พวกเขายอมรับหลักการของโอเพ่นซอร์ส เช่น การทำงานร่วมกัน การเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมโดยไม่มีการกีดกัน และความโปร่งใสในการทำงาน การรวมหลักการเหล่านี้เข้ากับเครื่องมือโอเพ่นซอร์ส ทำให้พวกเขาสามารถดัดแปลงวิธีการทำงาน เพื่อเร่งสร้างนวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้” 

แอนโธนี วัตสัน หัวหน้าทีมดูแลโดเมนส์องค์กร ANZ Bank

“การปรับเปลี่ยนไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก  หลักการของเราคือการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ DNA ในองค์กรเราอย่างแท้จริง และก็เป็นขององค์กรอื่น ๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเช่นกัน  เราคาดหวังให้ทั่วทั้งองค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทของเรากำลังใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงการดำเนินงานให้ทันสมัย เพื่อให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยให้เรารวบรวมคำติชมของลูกค้า มาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้านการเงินใหม่ ๆ ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ติดต่อเร้ดแฮท

###

เกี่ยวกับเร้ดแฮท

เร้ดแฮท คือผู้ให้บริการชั้นนำด้านซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สโซลูชั่นสำหรับองค์กร โดยใช้พลังของสังคมโอเพ่นซอร์ส เพื่อนำเสนอเทคโนโลยี Linux, hybrid cloud, container และ Kubernetes ที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพสูง เร้ดแฮท ให้การสนับสนุนลูกค้าในการผสานรวมแอปพลิเคชันใหม่และที่ใช้อยู่เดิม ในการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ cloud-native เพื่อยกระดับระบบปฏิบัติการชั้นนำของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนให้เป็นระบบอัตโนมัติและปลอดภัย ด้วยการบริการด้านการสนับสนุน อบรม และให้คำปรึกษาที่ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับด้วยรางวัลมากมาย เร้ดแฮท จึงได้รับการไว้วางใจในการเป็นที่ปรึกษาแก่บริษัทในเครือ Fortune 500 ด้วยบทบาทของ เร้ดแฮท ในการเป็นพันธมิตรต่อผู้ให้บริการคลาวด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผนวกรวมระบบ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน ลูกค้า และชุมชนโอเพ่นซอร์ส เร้ดแฮท จะสามารถสนับสนุนและผลักดันองค์กร เพื่อพร้อมรับกับโลกดิจิทัลแห่งอนาคต

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …