รายงาน Fjord Trends โดยเอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ แนะธุรกิจทบทวนปัจจัยพื้นฐานรับแนวโน้มใหม่

Fjord Trends 2020 เผย 7 เทรนด์ใหม่ที่จะมากำหนดทิศธุรกิจ มุ่งสร้างประสบการณ์ที่มีความหมาย

กรุงเทพฯ; 20 มีนาคม 2563  จากยุครุ่งเรืองด้วยการเติบโตเร็วและการทำกำไรสูงต่อเนื่อง มาบัดนี้ ธุรกิจต่างเริ่มคิดถึงความจำเป็นที่จะต้องหาจิตวิญญาณที่แท้จริงให้เจอ เมื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ องค์กรก็ยิ่งต้องกลับไปทบทวนตนเองทั้งด้านเจตนารมณ์และจุดยืนของตนในโลก ประเด็นเหล่านี้คือ ข้อเสนอแนะในรายงานฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ที่ชื่อว่า Fjord Trends 2020 (ฟยอร์ดเทรนด์ 2020) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 13 จากการประเมินความเป็นไปในอนาคตของวงการธุรกิจ เทคโนโลยีและการออกแบบ จัดทำโดย Fjord ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและนวัตกรรมภายใต้กลุ่มธุรกิจ Accenture Interactive (เอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ)

ปี 2019 นับได้ว่าเป็นปีแห่งความตื่นตัวเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ความเฟื่องฟูและการล่มสลายของธุรกิจอิสระ (gig economy) และเป็นปีแห่งการร่วมแสดงความมุ่งมั่นของซีอีโอชั้นนำของโลกในการกำหนดนิยามใหม่ของความมุ่งประสงค์ขององค์กรของตน  (Statement of Purpose of a Corporation) กรอบแนวคิดที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ซึ่งมีปัจจัยเร่งคือเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ผลักดันให้ผู้นำองค์กรต่าง ๆ ต้องหันกลับไปทบทวนหลักการพื้นฐานที่องค์กรของตนยึดถือร่วมกันเสียใหม่ รายงานฉบับนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจกับการเมือง แนวคิดแบบทุนนิยมกับทรัพยากรโลก ตลอดจนเทคโนโลยีกับสังคม ล้วนแล้วแต่เกี่ยวพันใกล้ชิดอย่างแยกไม่ออกและมีผลเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน   และในตอนนี้ สังคมปัจจุบันเริ่มตระหนักและให้ความสำคัญกับประเด็นนี้แล้ว 

 อ่านรายงาน Fjord Trends 2020 ได้ที่

https://www.accenture.com/us-en/insights/digital/fjord-trends-2020

“ปัจจุบัน องค์กรล้วนแล้วแต่เล็งเห็นความสำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืน” นายนนทวัฒน์พุ่มชูศรีกรรมการผู้จัดการ  เอคเซนเชอร์ประเทศไทย กล่าว “ค่านิยมเช่นนี้ จะเปลี่ยนมุมมองและตัวชี้วัดความสำเร็จและการเติบโตของธุรกิจในทศวรรษหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ผู้ชนะจะเป็นองค์กรที่มีโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน และมีวิสัยทัศน์ยาวไกล มองเห็นภาพขององค์กร จุดยืนและบทบาทของตนที่มีต่อโลกและสังคมทั้งมวล”

นายนนทวัฒน์กล่าวเสริมว่า “เราเริ่มเห็นลูกค้าหลายองค์กรปรับทิศทางให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์เช่นนี้ ในทศวรรษหน้า เราจะเห็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับธุรกิจในปรับเปลี่ยนสินค้าหรือบริการให้มีความหมาย ให้ใส่ใจต่อผู้บริโภคและสังคม และยั่งยืนยิ่งขึ้น การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคจาก “เพื่อตัวฉัน” เป็น “เพื่อพวกเราทุกคน” ส่งผลให้การออกแบบต้องเปลี่ยน จากที่เคยเน้นตัวผู้ใช้งาน (user-centered) มาเน้นความยั่งยืนสำหรับทุกชีวิต (life-centered) มากขึ้น”

รายงาน Fjord ที่จัดทำเป็นปีที่ 13 เพื่อมองแนวโน้มในอนาคตของวงการธุรกิจเทคโนโลยีและการออกแบบ 

รายงาน Fjord Trends 2020 ได้บ่งชี้แนวโน้มใหม่ 7 ด้านที่คาดว่าจะมีบทบาทในการกำหนดทิศทางธุรกิจในทศวรรษหน้าที่จะยิ่งมุ่งเน้นการให้ประสบการณ์ดีเลิศและมีความหมายต่อลูกค้า รานงานฉบับนี้ยังให้แนวทางปฏิบัติที่องค์กรนำไปปรับใช้ได้ เพื่อรับมือกับยุคหน้าที่จะมาถึง ดังนี้

  1. เติบโตหลากรูปแบบ (Many faces of growth): แนวคิดแบบทุนนิยมกำลังเผชิญกับวิกฤตที่เป็นจุดเปลี่ยน ผลกำไรของธุรกิจไม่ได้นับเป็นตัวชี้วัดการเติบโตเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป องค์กรจะต้องทบทวนเจตนารมณ์ บทบาทและจุดยืนของตนที่ยั่งยืนและคำนึงถึงสังคมโลก
  2. มองเงินเปลี่ยนไป (Money changers): มุมมองที่เราเคยมีต่อเงินตราและวิธีการจ่ายเงินเพื่อแลกซื้อสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การทวีบทบาทของเงินดิจิทัล เช่น การอนุมัติจ่ายด้วยลายนิ้วมือหรือเลนส์ม่านตา ก่อให้เกิดโอกาสอีกมหาศาลสำหรับผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ ๆ รวมทั้งผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาด
  3. บาร์โค้ดเดินได้ (Walking barcodes): ปัจจุบัน ตัวจริงของเราสามารถถูกระบุตัวตนและติดตามได้ง่ายพอ ๆ กับ ‘ตัวตนในโลกดิจิทัล’ ราวกับบาร์โค้ดเดินได้ ด้วยเทคโนโลยีการรู้จำใบหน้าและร่างกาย ซึ่งนำมาสู่ภาวะที่ต้องเลือกระหว่างความเป็นส่วนตัวและความสะดวกที่ได้รับ   
  4. ผู้คนเปลี่ยนไป (Liquid people): พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปโดยจะคำนึงถึงสังคมกับบทบาทของตน และค้นหาความหมายในทุกสิ่งที่ตนทำมากขึ้น สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาสอีกมากในการมอบประสบการณ์แบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้คนเหล่านี้ได้
  5. ปัญญาออกแบบได้ (Designing intelligence): ประสบการณ์ของมนุษย์มีความซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ก้าวต่อไปของ  

การพัฒนาเอไอ (Artificial Intelligence) คือ การออกแบบให้ก้าวไกลไปกว่าการใช้เป็นเพียงระบบอัตโนมัติ ไปเป็นระบบที่ผสานทั้งภูมิปัญญาของมนุษย์และปัญญาประดิษฐ์ และทำให้สองส่วนนี้ทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น

  1. แฝดเสมือนในโลกดิจิทัล (Digital doubles): แฝดเสมือนในโลกดิจิทัลกำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เช่น ดาต้าโมเดลที่รวมเอาข้อมูลส่วนตัวของเราทั้งหมดในโลกดิจิทัล ช่วยให้เราเข้าถึงความบันเทิงและมอบประสบการณ์เฉพาะตนต่าง ๆ ได้อย่างตรงใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เราสามารถควบคุมได้ดียิ่งขึ้นว่าจะให้ใครเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้บ้างและมากน้อยเพียงใด 
  2. ออกแบบอย่างยั่งยืนเพื่อเราทุกคน’ (Life-centered design): แนวคิดของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป จากการใช้ชีวิตที่มุ่งตอบสนองเพียงความต้องการของ “ตัวฉัน” ไปเป็นการคำนึงถึงสังคมส่วนใหญ่ หรือ “พวกเราทุกคน” คำถามคือ การออกแบบในอนาคต จะเปลี่ยนแนวทางจากการเน้นที่ตัวผู้ใช้หรือตัวบุคคลเป็นศูนย์กลาง (User-centered design) ไปเป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงชีวิตของคนในสังคมเป็นศูนย์กลาง (Life-centered design) ได้หรือไม่

รายงาน Fjord Trends 2020 ได้รวบรวมแนวคิดจากนักออกแบบและนักพัฒนาของฟยอร์ดกว่า 1,200 คนในสตูดิโอ 33 แห่ง  ทั่วโลก รายงานฉบับนี้ที่จัดทำขึ้นเป็นรายปีโดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง คือข้อสังเกตตรงจากบุคคลในวงการ งานวิจัยที่มีผลพิสูจน์ได้ รวมถึงงานที่ทำให้กับลูกค้า ในปีนี้ ฟยอร์ดได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากสตูดิโอใหม่ในโตเกียวด้วย และการควบรวม INSITUM เข้ามาอยู่ในกลุ่ม ก็ทำให้ได้ข้อมูลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอีก 250 ท่านทางฝั่งญี่ปุ่นและละตินอเมริกา ส่งผลให้ Fjord Trends ฉบับนี้ เป็นฉบับที่มีข้อมูลหลากหลายทั่วโลกที่สุดเท่าที่เคยจัดทำมา ผู้สนใจสามารถอ่านรายงานได้ทาง accenture.com/Fjordtrends2020 หรือที่ trends.fjordnet.com และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านแฮชแท็กทวิตเตอร์ #FjordTrends

###

เกี่ยวกับเอคเซนเชอร์

เอคเซนเชอร์ เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ดิจิทัล การบริหารเทคโนโลยีและการปฏิบัติการชั้นนำของโลก และด้วยประสบการณ์ การทำงานอย่างลึกซึ้ง ผนวกกับศักยภาพที่สมบูรณ์แบบในกว่า 40 อุตสาหกรรมซึ่งครอบคลุมทุกสายงานของธุรกิจ พร้อมด้วยเครือข่ายการให้บริการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้เอคเซนเชอร์สามารถร่วมมือกับลูกค้า เชื่อมต่อธุรกิจและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ยกระดับองค์กรของลูกค้าให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพและสมรรถภาพสูง สามารถสร้างคุณค่าอันยั่งยืนแก่ผู้ถือหุ้นได้ ปัจจุบัน    เอคเซนเชอร์ มีพนักงานประมาณ 492,000 คนในกว่า 120 ประเทศ เอคเซนเชอร์มุ่งพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานมีคุณภาพดีขึ้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.accenture.com

เอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ (Accenture Interactive) เสริมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ลูกค้า โดยการสร้างประสบการณ์ที่มีความหมาย ที่ซึ่งเจตนารมณ์และนวัตกรรมมาบรรจบกัน การเป็นส่วนสนับสนุนให้แบรนด์ชั้นนำต่าง ๆ สามารถออกแบบ พัฒนา และทำให้ประสบการณ์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดเส้นทาง ไม่ว่าสำหรับลูกค้า พนักงาน ผู้ป่วย หรือพลเมืองทั่วไป เอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ ให้บริการความเชี่ยวชาญในสามด้านหลัก ได้แก่การนำเสนอคุณค่าใหม่ (New Proposition) ผลิตภัณฑ์และบริการ; ด้านการตลาด คอนเทนต์และการมีส่วนร่วม; และแพลตฟอร์มประสบการณ์ เอคเซนเชอร์ อินเทอร์แอ็กทิฟ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเอเจนซีด้านดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในโลก ในรายงานเอเจนซีฉบับล่าสุดของนิตยสารแอดเอจ (Ad Age) เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกัน และได้รับการเสนอชื่อเป็น Most Innovative Company in Advertising ประจำปี 2019 โดย Fast Company ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของบริษัทได้ทางทวิตเตอร์ @AccentureACTIVE และทางเว็บไซต์ www.accentureinteractive.com

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …