หัวเว่ยมุ่งสร้างอนาคตที่สดใสให้แก่อุตสาหกรรมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ Kunpeng (“คุนเผิง”) ด้วยการเปิดตัวกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลและทุกแหล่งของข้อมูลได้ (Data Virtualization Engine) HetuEngine แบบเปิดกว้าง

[เซินเจิ้นประเทศจีน, 28 พฤศจิกายน 2562] หัวเว่ยเปิดตัวกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูล พร้อมเปิดโอเพ่นซอร์สเอนจิ้นดาต้าวิชวลไลเซชันชื่อว่า “HetuEngine” ภายในงานสัมมนา 2019 Global Intelligent Data Infrastructure Forum ซึ่งจัดขึ้นโดยหัวเว่ย ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน โดยมุ่งหวังเพื่อเปิดโอกาสให้พาร์ทเนอร์สามารถใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าร่วมกับฐานข้อมูลทั่วไปรวมถึงการจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของยักษ์ใหญ่ในวงการโทรคมนาคมอย่างหัวเว่ยที่ต้องการผลักดันอุตสาหกรรมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ให้รุดหน้าขึ้นไปอีกขั้น และเป็นการต่อยอดจากกลยุทธ์การประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบดูอัลคอมพิวติ้ง “Kunpeng + Ascend” ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของหัวเว่ยครอบคลุมวงจรการใช้งานข้อมูลจากต้นสายถึงปลายสาย (การเก็บข้อมูล, การบันทึกข้อมูล, การประมวลผลคอมพิวเตอร์, การจัดการ และการนำไปใช้งาน) นอกจากนี้ ยังเป็นการอธิบายให้เห็นภาพว่าโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของหัวเว่ยแบบผสมผสาน อัจฉริยะ และเปิดกว้าง สามารถช่วยให้ลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรมสามารถใช้ฐานข้อมูลที่ชาญฉลาดให้เกิดคุณค่าทางธุรกิจได้อย่างไร

ในยุคอัจฉริยะ ขุมพลังการประมวลผลคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นพลังสำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงาน โดยข้อมูลคือปัจจัยใหม่ของการผลิต ส่วน 5G, AI และ Cloud คือตัวผลักดันใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มในด้านประสิทธิผล การมาถึงของแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เช่น ยานพาหนะที่ขับขี่ได้โดยอัตโนมัติ วิดีโอความละเอียดระดับ 4K/8K, AR/VR และ Internet of Things (IoT) ทำให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในแง่ปริมาณของข้อมูล เช่นเดียวกับความต้องการในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการประมวลผลที่เทคโนโลยีเดิมในปัจจุบันไม่สามารถรองรับได้

“เทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึง 5G, AI และ Cloud เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีการทำงานของพวกเรา แต่มันก็สร้างข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดอุปสรรคเป็นอย่างมากแก่โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน  รวมถึงทำให้การค้นหา โอนย้ายข้อมูล และนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้งานยากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย เป้าหมายของเราคือการสร้างอนาคตที่สดใสให้แก่อุตสาหกรรมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ Kunpeng(“คุนเผิง”) หัวเว่ยจึงเปิดตัวกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลซึ่งนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่มีทั้งการผสมผสาน ความอัจฉริยะ และความเปิดกว้างเพื่อบริหารจัดการการเก็บข้อมูล การบันทึกข้อมูล การประมวลผลคอมพิวเตอร์ และการจัดการข้อมูลแบบครบวงจรให้เรียบง่ายและมีประสิทธิผลสูงสุด โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของหัวเว่ยจะสามารถส่งมอบผลตอบแทนต่อต้นทุนได้คุ้มค่าที่สุดจากทั้งวงจรข้อมูล การเก็บข้อมูลแบบครบวงจร และเปิดให้พาร์ทเนอร์ของเราสามารถใช้เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าได้อย่างง่ายดายควบคู่ไปกับฐานข้อมูลทั่ว ๆ ไป” นายโหว จินหลง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการหัวเว่ย Cloud และ AI ได้กล่าวในหัวข้อ “โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแบบผสมผสาน อัจฉริยะ และเปิดกว้างสำหรับโลกอัจฉริยะ”  

นายโหว จินหลง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการหัวเว่ย Cloud และ AI ได้ขึ้นกล่าวเปิดในงานสัมมนา

สร้างสรรค์โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลแบบผสมผสานอัจฉริยะและเปิดกว้าง

ด้วยพลังมหาศาลของระบบคอมพิวติ้งที่ทำงานแบบควบคู่ “Kunpeng + Ascend” หัวเว่ยจะมุ่งมั่นพัฒนาระบบคอมพิวติ้ง การจัดเก็บข้อมูลและความสามารถของ AI อย่างต่อเนื่อง จากการลงทุนด้าน R&D รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างจริงจัง ทั้งนี้โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลของหัวเว่ยนั้นประกอบด้วย ฐานจัดเก็บข้อมูล ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบการบริหารจัดการ และเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลและทุกแหล่งของข้อมูลได้ (Data Virtualization Engine) ซึ่งมีดังนี้

การผสมผสาน: การก้าวข้ามการจัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล และเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า จะช่วยพัฒนาการหลอมรวมข้อมูลอย่างเต็มรูปแบบใน 4 ระดับ ได้แก่ ระหว่างระบบจัดเก็บข้อมูลแต่ละระบบ, ระหว่างฐานจัดเก็บข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูล, ระหว่างแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าและระบบจัดเก็บข้อมูล และระหว่างฐานจัดเก็บข้อมูลและแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้า โดยระดับการหลอมรวมของข้อมูลที่เกินความคาดหมายนี้น่าจะช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุนลงได้มากกว่า 30% ในขณะที่เพิ่มการเข้าถึงข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และประสิทธิภาพด้านการวิเคราะห์เป็นเท่าตัว

ความอัจฉริยะ: สถาปัตยกรรมการประมวลผล 3 ขั้น อันได้แก่ ชิปเซ็ต AI,การจัดเก็บข้อมูลและหัวเว่ยคลาวด์ จะช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างข้อมูลบนระบบคลาวด์และระบบเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กร เช่น การเทรนนิ่งแบบยืดหยุ่นบนระบบคลาวด์ และข้อสรุปบนเซิร์ฟเวอร์องค์กร ซึ่งจะพัฒนาการดำเนินการที่รวดเร็วและคุ้มค่ามากขึ้น โดยที่สามารถปรับให้เข้ากับปริมาณงานได้ ทั้งนี้ โปรเซสเซอร์ Ascend ของหัวเว่ยจะพัฒนาอัตราการพบข้อมูลหน่วยความจำแคชในโฟลเดอร์พรีเฟชต์ (cache prefetching hit rate) โดยการเรียนรู้และการกำหนดการหมุนเวียนของอินพุต/เอาท์พุต ได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะพัฒนาประสิทธิภาพของระบบเพิ่มขึ้นถึง 20% ด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลายรูปแบบของโปรเซสเซอร์ Kunpeng(“คุนเผิง”) จะทำให้สามารถเลือกอัลกอริธึมการลดข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้อย่างอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับประเภทของข้อมูล โดยจะลดดัชนีวัดต้นทุนของฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์ หรือ TCO ได้ถึง 25% ด้วยประสิทธิภาพของหัวเว่ยคลาวด์ และข้อมูลความรู้ในระบบการดำเนินงานและการบำรุงรักษาขนาดใหญ่ที่ได้ผ่านการทดสอบแล้ว ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานอันชาญฉลาดนี้สามารถคาดการณ์ข้อผิดพลาดบนดิสก์ได้ล่วงหน้าถึง 14 วัน คาดการณ์กระบวนการที่จำกัดกำลังการผลิตของระบบ (bottlenecks) ได้ล่วงหน้าถึง 60 วัน และคาดการณ์กำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอได้ล่วงหน้าถึง 365 วัน นอกจากนี้ ยังสามารถรักษาระบบจากข้อผิดพลาดได้เองถึง 30% 

ระบบเปิดกว้าง: HetuEngine เป็นเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลและทุกแหล่งของข้อมูลได้ (Data Virtualization Engine) ของหัวเว่ยที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถระบุตำแหน่ง ดึงข้อมูล และรับข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดายขึ้น ทำให้การจัดการและการนำข้อมูลมาใช้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมากโดยกลุ่มอินเทอร์เฟส SQL, แคตตาล็อกข้อมูลที่รวมกัน, ข้อมูลที่นำสมัย, การจัดการความปลอดภัยร่วมกัน และความแตกต่างของประเภทข้อมูล ตำแหน่ง และคำจำกัดความพิเศษ โดยระบบจะกำจัดความซับซ้อนเชิงเทคนิคของโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเข้าถึงประสิทธิภาพของบิ๊กดาต้าด้วยฐานข้อมูลแบบพื้นฐานและเข้าใจง่าย ทั้งนี้ การนำอีโคซิสเต็มพื้นฐานเดิม เครื่องมือ และชุดทักษะต่างๆ กลับมาใช้จะเพิ่มความสามารถในการพัฒนาได้มากถึง 2 เท่าหรือ 10 เท่า และช่วยประหยัดงบในการลงทุนก้อนแรกได้อีกด้วย

เปิดตัว HetuEngine แบบโอเพ่นซอร์สเพื่อการเชื่อมต่อระบบที่รวดเร็วและทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ในงานสัมมนาครั้งนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัว HetuEngine แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากทุกฐานข้อมูลและทุกแหล่งของข้อมูลได้ (Data Virtualization Engine) ของหัวเว่ยได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าและพาร์ทเนอร์สามารถเชื่อมต่อข้อมูลและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเวอร์ชั่นโอเพ่นซอร์สของ HetuEngine จะมีชื่อว่า openHetu และจะเปิดให้ใช้งานอย่างเป็นทางการภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ซึ่งโอเพ่นซอร์สดังกล่าวจะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถปรับแต่งตัวเอนจิ้น รวมถึงการขยาย data source และนโยบาย SQL execution เพื่อให้สามารถทำงานข้ามระบบและการพัฒนาต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว

นายโหว จินหลง ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และบริการหัวเว่ย Cloud และ AI ได้กล่าวเปิดตัว HetuEngine แบบเปิดกว้าง

จากกลยุทธ์เรื่อง “แพลตฟอร์ม + อีโคซิสเต็ม” และหลักการเรื่อง “โอเพ่นฮาร์ดแวร์, โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ และการเปิดรองรับพาร์ทเนอร์” ทำให้หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอีโคซิสเต็ม Kunpeng (“คุนเผิง”) ที่เปิดกว้างและสมบูรณ์พร้อม ร่วมกับฐานลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยเพื่อก้าวเข้าสู่โลกอัจฉริยะ

หัวเว่ยได้จัดงาน 2019 Global Intelligent Data Infrastructure Forum ภายใต้หัวข้อ “ผู้บุกเบิกโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลในยุคอัจฉริยะ” ณ เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยผู้นำในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์ของหัวเว่ยได้เข้าร่วมในงามสัมมนานี้เพื่อร่วมพูดคุยถึงเทรนด์ในอนาคตสำหรับการประมวลผลคอมพิวเตอร์ในยุคอัจฉริยะ รวมถึงวิธีต่าง ๆ ในการผลักดันอุตสาหกรรมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ และโชว์เคสผลิตภัณฑ์หรือโซลูชั่นล่าสุดของโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่: 

https://e.huawei.com/topic/gidif2019/cn/index.html?source=corp_comm

###

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย (Huawei) เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ ด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรในโดเมนหลัก 4 แห่ง ได้แก่ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์และบริการคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะนำระบบดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กรเพื่อเชื่อมต่อกับโลกแห่งความล้ำสมัยด้านสติปัญญา 

ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่น และบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยมีศักยภาพด้านการแข่งขัน และปลอดภัย จากการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในระบบเครือข่าย หัวเว่ยสามารถสร้างสรรค์คุณค่าในระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมประสิทธิภาพให้กับผู้คน ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบ

หัวเว่ยยังให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก โดยเราได้ทุ่มงบประมาณให้กับการวิจัยและพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ช่วยขับเคลื่อนโลกไปข้างหน้า ปัจจุบัน หัวเว่ยมีจำนวนพนักงานมากกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจใน 170 ประเทศทั่วโลก ซึ่งบริษัทก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …

Sahifa Theme License is not validated, Go to the theme options page to validate the license, You need a single license for each domain name.