ฟอร์ติเน็ตช่วยยกระดับศักยภาพความรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ในประเทศไทย

จัดหลักสูตร Fortinet APAC NSE xperts Academy ระดับเอเชียแปซิฟิค เน้นวิธีแข่งขันเกมลับสมองแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ สร้างกรอบคaวามเข้าใจในการป้องกันภัย

ผู้บริหารของฟอร์ติเน็ตผู้จัดงานในครั้งนี้ นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์  รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง แห่งฟอร์ติเน็ต (ขวา) และนายเคลวิน ฉั่ว ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง (ซ้าย)

กรุงเทพฯ – 21 พฤศจิกายน 2562 – การประชุมเศรษฐกิจโลก “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” (World Economic Forum: WEF) ประจำปี 2018 พบว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปฏิรูปติจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบัน การโจมตีทางไซเบอร์ได้เพิ่มสูงขึ้นมากทั้งในด้านความซับซ้อนและปริมาณ ซึ่งในขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มมีการนำเอาอุปกรณ์ไอโอที (IoT) รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ มาใช้มากขึ้น อาชญากรไซเบอร์ก็มีความรอบรู้ทางเทคนิคในการโจมตีโดยใช้เอไอในกิจกรรมของตนมากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นการขยายพื้นผิวของโอกาสที่จะถูกโจมตีแบบดิจิทัลมากขึ้นและขยายช่องโหว่ต่างๆ กว้างมากขึ้น อันเป็นภัยคุกคามต่อบุคคล บริษัท องค์กรและรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ ทางเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมจึงได้สร้างศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Center for Cybersecurity) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์  โดยมีเอคเซนเชอร์(Accenture) ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) และสเบอร์แบงค์ (Sberbank) เป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งของศูนย์ฯ และได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการถาวรในคณะกรรมการของศูนย์ฯ  ทางศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมและมีเป้าหมายคือการสร้างแพลตฟอร์มระดับโลกครั้งแรกให้กับรัฐบาล ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ในการประสานทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งนี้ การประชุมประจำปีครั้งแรกของศูนย์ฯ ได้สิ้นสุดลงไปเมื่อปลายเดือนธันวาคม ปีพศ. 2561 ที่ผ่านมานี้โดยมีการเรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป และขอให้ก้าวข้ามความท้าทายสำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ การขาดความไว้วางใจ การขาดความร่วมมือ และสภาวะที่ขาดทักษะที่เพียงพอ

นายเคน ซี ผู้ก่อตั้ง ประธานและซีอีโอของฟอร์ติเน็ตกล่าวย้ำว่า“ ฟอร์ติเน็ตเชื่อมั่นในความสำคัญของการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งนี้ การที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ครั้งนี้ นับว่ามีนัยยะสำคัญต่อความร่วมมือกันที่ดีในระดับโลกเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นก้าวสำคัญในภารกิจของฟอร์ติเน็ตที่มุ่งมั่นรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการ รวมถึงองค์กรของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย”

ซึ่งในการส่งเสริมความรู้ใหม่ๆ และทักษะที่จำเป็นในการสร้างความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับสังคมไอที ลูกค้า พันธมิตรทั่วโลกนั้น ฟอร์ติเน็ตจึงมีนโยบายและได้ดำเนินการไปแล้ว รวมถึง:

  • จัดตั้ง NSE Institute (https://training.fortinet.com/) รับผิดชอบพัฒนาศักยภาพของวิศวกรของพันธมิตรและลูกค้าทั่วโลก ได้จัดการอบรมด้านเทคนิคในระดับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง พร้อมมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ  อีกทั้งยังจัดเวิร์คช้อปลงมือปฏิบัติจริงในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างประสบการณ์อันแข็งแกร่งให้ผู้รับการอบรมอีกด้วย
  • จัดตั้ง Network Security Academy เป็นหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือกับสถานการศึกษาทั่วโลก ช่วยจัดหลักสูตรและวิชาด้านความปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพด้านความปลอดภัยเครือข่าย

ซึ่งการจัดการอบรมมีทั้งในรูปแบบการอบรมปฏิบัติจริง และอบรมผ่านโปรแกรมออนไลน์ อาทิ Webinar

ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตมุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากรของพันธมิตรตัวแทนขายทั่วโลกในภูมิภาคต่างๆ มีความรู้ ทักษะและศักยภาพที่จะสามารถให้คำแนะนำ ทำงานร่วมกันอันเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยกว้างให้สูงขึ้น จึงได้จัดหลักสูตรการอบรมวิศวกรขององค์กรพันธมิตรด้านซีเคียวริตี้ในชื่อว่า “APAC NSE xperts Academy” (Asia Pacific Network System Engineer Experts Academy) สำหรับพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคขึ้นในประเทศไทย

ในรูปแบบการอบรมหลักสูตร APAC NSE xperts Academy นั้น ฟอร์ติเน็ตเน้นสร้างความตระหนักถึงในความปลอดภัยเครือข่ายและภัยไซเบอร์ที่อยู่เหนือสถานการณ์ในทุกประเภท มิใช่เป็นการอบรมให้รู้จักแค่ที่ตัวอุปกรณ์ จึงได้ออกแบบหลักสูตรในรูปแบบของการแข่งขันเกม แพลทฟอร์ม และสถานการณ์ต่างๆ ที่ผู้อบรมต้องคิดแก้ไขตลอดเวลา ทั้งนี้ เมื่อจบการอบรม 5 วันนี้แล้ว ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร และเหนืออื่นใด จะได้รับทักษะด้านวิธีการคิดและหากระบวนการในเรื่องการป้องกันภัยคุกคามเชิงรุกที่ครอบคลุมในทุกสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ 

นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์  รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง แห่งฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “เมื่อพันธมิตรได้ออกไปแบ่งปันความรู้ในกลุ่มใหม่ๆ แล้ว สมาชิกในกลุ่มจะได้รับความรู้ใหม่ๆ ไปด้วย จึงส่งให้สังคมไทยสามารถยกระดับกระบวนวิธีการคิดและศักยภาพในเรื่องการป้องกันภัยคุกคามให้สูงขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากการอบรมเป็นระดับภูมิภาค มีผู้แข่งขันมาจากนานาประเทศ อาทิ ประเทศมาเลเซีย จีน ฮ่องกง ออสเตรเลียแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน จึงสามารถช่วยยกระดับความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของวิศวกรไทยให้ทันเท่าเทียมประเทศอื่นในภูมิภาคและทั่วโลกอีกด้วย    

นายเคลวิน ฉั่ว ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง ผู้รับผิดชอบในการจัดหลักสูตร APAC NSE xperts Academy นี้กล่าวว่า “ฟอร์ติเน็ตจัด NSE xperts Academy ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทยได้รับเกียรติเลือกเป็นสถานที่จัดงานเป็นครั้งที่ 2  ซึ่งครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญให้การอบรมมาจากฟอร์ติเน็ตในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน มาเลเซียและสิงคโปร์  มีวิศวกรให้ความสนใจเข้ารับการอบรมจากประเทศในเอเชียแปซิฟิกประมาณ 160 ท่าน และมีวิศวกรไทยร่วมด้วยอีก 12 ท่าน ซึ่งคณะที่ได้รับคะแนนรวมจากการแข่งขันมากที่สุด และเป็นผู้ชนะในครั้งนี้ ได้แก่ ทีมจาก Advance Technology, Hong Kong ลำดับที่ 2 ได้แก่ Macquire Telecom, Australia   และลำดับที่ 3 ได้แก่ Bridgenet Solutions, Malaysia”

คณะที่ได้รับคะแนนรวมจากการแข่งขันมากที่สุด และเป็นผู้ชนะในครั้งนี้ ได้แก่ ทีมจาก Advance Technology, Hong Kong ลำดับที่ 2 ได้แก่ Macquire Telecom, Australia   และลำดับที่ 3 ได้แก่ Bridgenet Solutions, Malaysia  

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ และหน่วยงานรัฐบาลขนาดใหญ่ทั่วโลกให้พ้นจากภัยไซเบอร์ ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกในภัยคุกคาม และสร้างการป้องกันที่ชาญฉลาดให้ธุรกิจลูกค้าดำเนินไปอย่างราบรื่น เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาต่อเครือข่ายไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ทั้งนี้ เครือข่ายด้านความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบลิคอันเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่สามารถมอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ โมบาย หรือไอโอที ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการจัดส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 400,000 รายทั่วโลกไว้วางใจฟอร์ติเน็ตให้ปกป้องธุรกิจของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs 

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …