เปิดมุมมอง “ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย” ผู้อยู่เบื้องหลัง AIS SME จัดขบวนดิจิทัล พร้อมเป็นเพื่อนที่มั่นใจได้ทุกเรื่อง SME ชูจุดแกร่ง นำทัพ “เอไอเอส” เคียงข้างผู้ประกอบการไทย มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างมั่นคง

วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างมากโดยเฉพาะ SME ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศดังนั้นเอไอเอสต้องให้ความสำคัญและจัดสรรรบริการและเทคโนโลยีที่จะนำให้พวกเขาอยู่รอด หนึ่งในคำกล่าวสั้นๆ จาก นายธนพงษ์อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กรบริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิสจำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา และเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ของ AIS SME ต้อนรับศักราชใหม่ในปี  2564 เป็นอาวุธให้ผู้ประกอบการ SME ได้เลือกใช้อย่างครบเครื่อง กรุยทางสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

การก้าวสู่ครอบครัวเอไอเอส นายธนพงษ์ ผู้ที่มีผลงานในธุรกิจและองค์กรชั้นนำ ทั้งในบริษัทที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก หรือบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการด้านพลังงานและความยั่งยืนขององค์กรที่หลากหลาย มาเป็นระยะเวลา 29 ปี กับทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการจัดการทั่วไป การบริหารธุรกิจ การขายและการตลาด ในบริษัทชั้นนำ อาทิ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้ บทบาทของนายธนพงษ์ ในเอไอเอส สำหรับการดูแลรับผิดชอบในการผลักดันกลยุทธ์ และบริหารธุรกิจเชิงพาณิชย์ในกลุ่มลูกค้าองค์กร และการสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในธุรกิจยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ภายในอุตสาหกรรมองค์กรต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและเร่งให้เกิดแนวทางในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ซึ่งถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อน เพื่อนำพาเอไอเอสและพันธมิตร ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) และเป็นกระบวนการ Digital Transformation ได้อย่างแข็งแกร่ง

นายธนพงษ์ กล่าวว่าวิสัยทัศน์ในการทำงานจะแบ่งบริการออกเป็นกลุ่มคือTelecom Servicesซึ่งเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการติดต่อสื่อสารและเครือข่ายขององค์กรต่างๆจะซึ่งเน้นเรื่องคุณภาพที่ดีสำหรับองค์กรและการครอบคลุมพื้นที่ของทั้งเครือข่ายไร้สายและสายใยแก้วนำแสงและด้านการบริการDigital Enablerสำหรับธุรกิจต่างๆจะนำ Digital Technologies ไปประยุกต์ใช้กับยุค Digital Transformation และให้สอดคล้องกับการทำงานแบบ New normal เช่นระบบIT, Cloud, IoT, Cyber Security, Digital Marketing รวมถึงเทคโนโลยี 5G ในอนาคตโดยจะนำเสนอการให้บริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่เป็น Large enterprises & SMEs เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของทุกธุรกิจ

นอกจากนี้ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึง โครงการแรกที่ทำในปีนี้ คือ การนำพา AIS SME สู่ดิจิทัล ว่าวิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจมากโดยเฉพาะ SME ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศกำลังได้รับผลอย่างหนักหน่วงรุนแรงดังนั้นเอไอเอสและตนเองจึงมองเห็นช่องทางและเป้าหมายในการพัฒนาเอสเอ็มอีให้สอดรับกับวิถี New Normal โดยนำเครื่องมือดิจิทัลด้านต่างๆมาช่วยผลักดันให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องเช่นการมี Online Asset สำหรับติดต่อสื่อสาร, การทำ Digital Marketing เข้าถึงกลุ่มลูกค้าซึ่งความท้าทายในครั้งนี้คือการสร้างโอกาสทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ (New Business Model)
ให้เอสเอ็มอีและคาดการณ์ว่าหากเอสเอ็มอีมีการปรับตัวตลาดในส่วนของ Online SME & Technology Startup จะมีการเติบโตต่อเนื่องแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน

ขั้นตอนต่อไปในการนำพาเอไอเอส สู่ Digital Transformation อย่างแข็งแกร่ง คือการให้ความสำคัญในการดูแลลูกค้าทั้ง SMEและLarge Enterprise โดยการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ประยุกต์ใช้ระบบ 5G ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การทำ Smart Manufacturing / Factory, Smart City รวมถึง Public Infrastructures ในกิจการท่าเรือหรือสนามบิน ซึ่งในปัจจุบันเอไอเอสได้มีการทดสอบและทดลองใช้ AIS 5G ในหลากหลายตัวอย่าง ซึ่งปัจจุบัน AIS มีความพร้อมทั้งในแง่สัญญาณ 5G ที่ครอบคลุมเต็มพื้นที่ 100% ในนิคมอุตสาหกรรม EEC รวมทั้ง มีความพร้อมทั้งในแง่ Solutions ที่ร่วมกับ Partners จากหลากหลายธุรกิจ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการใช้งาน 5G ในอนาคต

เกี่ยวกับ AIS 

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ผู้นำด้าน Digital Life Service Provider อันดับ 1 ที่มีคลื่นความถี่ในการให้บริการมากที่สุดรวม 1450 MHz และมีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดกว่า 40.9 ล้านเลขหมาย (ณ กันยายน 2563) พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครบ 77 จังหวัดแล้วเป็นรายแรกผ่าน 3 สายธุรกิจ ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่, อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibre และบริการดิจิทัล 5 ด้าน ได้แก่ วิดีโอ คลาวด์ ดิจิทัลเพย์เมนท์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) และบริการร่วมกับพาร์ทเนอร์ ตลอดจนขยายสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ อาทิ  AIS eSports, AIS Insurance ทั้งหมดนี้ เพื่อสนับสนุนความแข็งแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศ ขยายขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยไปพร้อมกัน

###

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …