คูแลป (KULAP) เดินหน้าเผยแพร่ความรู้บล็อกเชน หลังได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.

นายพลากร ยอดชมญาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ขวาสุด) และ นายนัฐพล นิมากุล (ลำดับที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่สายงานเทคโนโลยี บริษัท ซาโตชิ จำกัด ผู้ประกอบธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ภายใต้ชื่อ “คูแลป” (KULAP) ร่วมถ่ายภาพในหลักสูตรการเขียนโปรแกรมสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ส่งมอบความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน และการนำไปประยุกต์ใช้สัญญาอัจฉริยะกับภาคธุรกิจจริง โดยผู้ร่วมอบรมหลักสูตรประกอบด้วยบริษัทเอกชน สถาบันการเงิน เจ้าหน้าที่จากหน่วนงานรัฐ โปรแกรมเมอร์จากหลากหลายอุตสาหกรรม ณ เวิร์ค ไวซ์ เดอะ สตรีท รัชดา เมื่อเร็ว ๆ นี้ 

อนึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และอยู่ระหว่างการรอตรวจสอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ก่อนเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้เข้ามาแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มของคูแลป

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเข้าชมที่ https://kulap.io/

###

เกี่ยวกับ คูแลป

บริษัท ซาโตชิ จำกัด (KULAP) หรือ “คูแลป” บริษัทสตาร์ทอัพฟินเทค สัญชาติไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2561 โดยคุณพลากร ยอดชมญาณ, คุณนัฐพล นิมากุล และคุณศรัณย์ แสงสมบูรณ์ ต่างมีความมุ่งมั่นในการสร้างระบบการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่รวดเร็ว ค่าธรรมเนียมต่ำ และสามารถเข้าถึงทุกคนได้ ด้วยการพัฒนาระบบภายใต้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลัง ภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และใบอนุญาตนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อมิถุนายน 2563

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …