ไทยยูเนี่ยนตั้งแหล่งเงินทุน venture fund เพื่อลงทุนในนวัตกรรมเทคโนโลยีอาหาร พร้อมประกาศลงทุนในโปรตีนทางเลือกเป็นครั้งแรก

  • ไทยยูเนี่ยนประกาศตั้งเงินทุน venture fund เริ่มต้น 30 ล้านเหรียญสหรัฐ 
  • โดยเงินทุนนี้จะลงทุนในโปรตีนทางเลือก อาหารฟังก์ชั่น และเทคโนโลยีห่วงโซ่คุณค่า
  • ได้ประกาศการลงทุนในครั้งแรกกับ ฟลายอิ้ง สปาร์ค ผู้ผลิตโปรตีนจากตัวอ่อนแมลงเพื่อเป็นโปรตีนทางเลือกที่ยั่งยืนและอุดมไปด้วยสารอาหาร

17 ตุลาคม 2562, กรุงเทพฯ – บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศตั้งแหล่งเงินทุน venture fund ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนอย่างต่อเนื่องของบริษัทในด้านนวัตกรรม ในเบื้องต้นบริษัทตั้งเงินทุนสำหรับลงทุนในบริษัทนวัตกรรมที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยในด้านอาหารเป็นจำนวน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ

เงินทุนนี้จะมุ่งลงทุนใน 3 ด้านได้แก่ โปรตีนทางเลือก อาหารฟังก์ชั่น และเทคโนโลยีห่วงโซ่คุณค่า ไทยยูเนี่ยนจะลงทุนในบริษัทที่สนใจด้านเหล่านี้และร่วมสนับสนุนและผลักดันให้พัฒนาต่อไป

บรรยายภาพ: นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในนวัตกรรมอาหารทะเลและความยั่งยืน” นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว “เรากำลังก้าวไปสู่ทศวรรษหน้า และเราจะร่วมมือกับสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมมากขึ้นในด้านต่างๆ ที่มีนัยยะสำคัญเชิงกลยุทธ์  สิ่งนี้จะเข้ามาเติมเต็มธุรกิจของเราในขณะที่เราขยายธุรกิจออกไปจากแกนเดิม”

ก่อนหน้าการประกาศตั้งเงินทุน venture fund นี้ ไทยยูเนี่ยนได้ร่วมมือกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัวโครงการ SPACE-F เพื่อบ่มเพาะและผลักดันเทคโนโลยีด้านอาหารเป็นที่แรกในประเทศไทย

ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศการลงทุนในครั้งแรกกับ ฟลายอิ้ง สปาร์ค สตาร์ทอัพด้านโปรตีนทางเลือก  ฟลายอิ้ง สปาร์คใช้ตัวอ่อนแมลงที่กินผลไม้เป็นอาหาร โดยแมลงนี้สามารถเติบโตได้ถึง 250 เท่าในวงจรชีวิตเพียงแค่ 7 วัน  และด้วยเทคโนโลยีของฟลายอิ้ง สปาร์ค ทำให้การผลิตเพาะเลี้ยงทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ และมีขยะเหลือเกือบศูนย์ และทุกส่วนของแมลงได้ถูกนำมาใช้  ทำให้ฟลายอิ้ง สปาร์ค ล้ำหน้าแหล่งโปรตีนแบบดั้งเดิมที่ได้จากเนื้อสัตว์และพืช และแมลงอื่นๆ เช่น จิ้งหรีดและตั๊กแตน

###

เกี่ยวกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลของโลก ซึ่ง ส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรม รสชาติดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคทั่วโลกมาเป็นเวลากว่า 40 ปี

วันนี้ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าบรรจุภาชนะชนิดต่างๆ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมียอดขายต่อปีมากกว่า 1.33 แสนล้านบาท (4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และมีพนักงานทั่วโลกรวมกันมากกว่า 47,000 คน ซึ่งล้วนทุ่มเทเพื่อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีนวัตกรรมและมีความยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนเป็นเจ้าของแบรนด์ทั่วโลก ประกอบด้วย แบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาดโลกอย่าง Chicken of the Sea, John West, Petit Navire, Parmentier, Mareblu, King Oscar และ Rügen Fisch รวมทั้งแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย ได้แก่ ซีเล็ค ฟิชโช คิวเฟรช โมโนริ เบลลอตต้า และมาร์โว่

จากพันธกิจในการเป็นบริษัทแห่งนวัตกรรมและดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบทั่วโลก ไทยยูเนี่ยนภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในภาคีข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเพื่อความยั่งยืนของอาหารทะเลสากล (International Seafood Sustainability Foundation: ISSF) ในปี 2558 ไทยยูเนี่ยนเปิดตัวกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน SeaChange® และดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอด ทำให้ในปี 2561 และ 2562 ไทยยูเนี่ยนได้เป็นผู้นำอันดับ 1 กลุ่มอุตสาหกรรมของโลกใน Food Industry ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ และประสบความสำเร็จในการได้รับคะแนนเปอร์เซ็นไทล์สูงสุดที่ 100 ในคะแนนด้านความยั่งยืนทั้งหมด ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการคัดเลือกให้ติดอันดับดัชนี FTSE4Good Emerging Index ในปี 2561 อีกด้วย

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …