ซัมซุงปลดล็อกภาคธุรกิจไทยสู่ Next Mobile Economy ส่งผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นครบวงจรเพื่อองค์กรทุกขนาด

  • ซัมซุงเผยกลยุทธ์ปลดล็อกภาคธุรกิจไทยด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่ครบครันให้ทุกอุตสาหกรรมขับเคลื่อนสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ด้วยการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการโซลูชั่นระดับโลก 
  • ครองตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดธุรกิจสำหรับองค์กรด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 50 เปอร์เซ็นต์2โดยเฉพาะกลุ่มสมาร์ทโฟนระดับพรีเมี่ยมที่เติบโตขึ้นถึง 3 เท่า
  • เผยแนวโน้มปีหน้ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการวางแผนบุกตลาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB) 

กรุงเทพฯ (9 ตุลาคม 2562) – ซัมซุง ประกาศกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กร พร้อมปลดล็อกการเติบโตขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย ให้ไปสู่การทำงานบนระบบโมบายล์อย่างเต็มรูปแบบ โดยการนำเสนอโซลูชั่นจากพาร์ทเนอร์ระดับโลก ที่จะมาช่วยยกระดับการทำงานให้ครอบคลุมระบบนิเวศดิจิตอลที่ซับซ้อนในปัจจุบัน รวมถึงเผยข้อมูลการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจลูกค้าองค์กรที่โตขึ้นถึง 27 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา พร้อมแนวโน้มการเติบโตในอนาคต

ดร.มารุตมณีสถิตย์ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรธุรกิจโทรคมนาคมและไอทีบริษัทไทยซัมซุงอิเลคโทรนิคส์จำกัดกล่าวว่า “กลยุทธ์ของปีนี้คือ “Unlock Next Mobile Economy” หรือเรียกได้ว่าการที่โมบายล์เทคโนโลยีถูกผนึกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่องค์กรต้องคำนึงถึงเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ เนื่องจากสมาร์ทโฟนไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสื่อสารแค่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังสามารถนำมาใช้ในธุรกิจด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรด้วย”

ปัจจุบันนี้ ซัมซุงถือเป็นแบรนด์ที่มีความพร้อมมากที่สุดในการส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจสามารถปรับตัวและต่อยอดความสร้างสรรค์ในการทำงานเพื่อเข้าสู่ยุคโมบายล์อย่างเต็มขั้น โดยมี 3 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย 1. ความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี 2. มีความพร้อมในด้านโมบายล์โซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสำหรับองค์กร 3. ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกเพื่อให้ธุรกิจมีแพลตฟอร์มที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจในยุคที่มือถือมีความสำคัญมากที่สุดได้

ส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลก

ในมุมมองของผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ย่อมเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และรู้ดีว่าการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญแค่ไหน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การทำงานบนระบบโมบายล์คือสิ่งที่จะทำให้องค์กรทุกขนาดเท่าทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี จึงเป็นเหตุผลให้ซัมซุงจับมือกับพาร์ทเนอร์ระดับโลก อาทิ

  1. Simplr: โซลูชั่นด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร ให้บริการตั้งแต่ให้คำปรึกษา วางแผน จัดเก็บและเคลื่อนย้ายสินค้าในโรงงาน เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโรงงานและธุรกิจค้าปลีก
  2. Wacom: โซลูชั่นที่ให้บริการระบบลายเซ็นอิเลคโทรนิคส์สำหรับการยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัยของคู่ค้าในการทำธุรกรรม
  3. SmartPesa: ผู้ให้บริการโซลูชั่นสำหรับชำระเงินที่หลากหลายเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่มี NFC ให้กลายเป็นบริการชำระเงินอิเลคโทรนิคส์แบบ Contactless Payment ที่คล่องตัว
  4. Vault: โซลูชั่นการสื่อสารบน Samsung Galaxy Watch ที่ออกแบบมาเพื่อการปกป้องและจัดงานระบบการทำงานของบุคลากรในองค์กร อาทิ การทำงานที่มีความเสี่ยงบนที่สูง หรือการทำงานที่ต้องเดินทางไกล เป็นต้น 

“ทั้งนี้เพื่อร่วมกันผลักดันภาคธุรกิจในการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยโมบายล์เทคโนโลยี ซึ่งปีที่ผ่านมาเห็นได้อย่างชัดเจนว่าองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยได้ปรับตัวเข้าสู่ยุค Next Mobile Economy เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกลุ่มลูกค้าองค์การธุรกิจของซัมซุงที่มีการนำโมบายล์เทคโนโลยีไปใช้งานสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ การเงินธนาคาร ธุรกิจค้าปลีก โลจิสติกส์ หน่วยงานภาครัฐ และอื่นๆ”

การเติบโตของตลาดลูกค้าองค์กร

สำหรับตลาดลูกค้าองค์กรของซัมซุงในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 27 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี 2018 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยซัมซุงครองส่วนแบ่งด้านการตลาดลูกค้าองค์กรเป็นอันดับหนึ่งสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็นแท็บเล็ต 35 เปอร์เซ็นต์ และสมาร์ทโฟน 65 เปอร์เซ็นต์ ที่น่าสนใจคือส่วนแบ่งด้านการตลาดของสมาร์ทโฟนในเซกเมนต์พรีเมี่ยมเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2018 ส่วนกลุ่มอื่นๆ มีความใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่าลูกค้าองค์กรเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟนระดับพรีเมี่ยมจากซัมซุงกันมากขึ้น 

ทั้งนี้ ปัจจัยความสำเร็จในปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากการบุกตลาดอย่างหนักของซัมซุง และความร่วมมือที่แข็งแกร่งกับผู้ให้บริการเครือข่ายทุกราย และเป็นผลมาจากการวิจัยและพัฒนาสมาร์ทโฟนให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานที่หลากหลายเพื่อตอบรับความต้องการของธุรกิจทุกขนาดและทุกอุตสาหกรรม 

นอกจากนี้ ยังโดดเด่นในด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูล “ซัมซุง น๊อกซ์” (Samsung Knox) มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงสุดด้วยเทคโนโลยีเทียบเท่ากับที่ใช้ในการทหาร อีกทั้งยังมีบริการหลังการขาย “ซัมซุง เซอร์วิส” และการเปิดอบรมการใช้งานพื้นฐานที่จำเป็นต่อองค์กรนั้นๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดจากการใช้งานสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตของซัมซุง

“ซัมซุงให้ความสำคัญกับการขยายกลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยสนับสนุนให้ทุกธุรกิจในประเทศไทยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในเร็วๆ นี้ เรายังวางแผนที่จะบุกตลาดธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMB) ต่อไปอีกด้วย” ดร.มารุต กล่าวทิ้งท้าย

###

เกี่ยวกับ ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์

บริษัท ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด จุดประกายแรงบันดาลใจและสร้างวิถีแห่งอนาคตด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น โดยบริษัทได้สร้างนิยามใหม่ให้กับโลกของโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์อัจฉริยะสวมใส่ได้ แท็บเล็ต กล้องถ่ายภาพ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์การแพทย์ ระบบเครือข่าย สารกึ่งตัวนำและ LED โซลูชั่น สำหรับข่าวสารล่าสุด ท่านสามารถเยี่ยมชม Samsung Newsroom ได้ที่ news.samsung.com

About naruethai

Check Also

ไอบีเอ็มเปิดบริการ IBM Cloud for Financial Services รองรับ Red Hat OpenShift และบริการ Cloud-native พร้อม SAP พาร์ทเนอร์ และฟินเทคกว่า 90 รายเข้าร่วมอีโคซิสเต็ม

ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ย้ายเวิร์คโหลดสู่ IBM Cloud for Financial Services  กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศพร้อมเปิดให้บริการ IBM …

ซัพพลายเชนที่ทันสมัยต้องอยู่บนคลาวด์

บทความโดย นายฟาบิโอ ทิวิติ รองประธาน บริษัท อินฟอร์ อาเชียน องค์กรด้านซัพพลายเชนจะต้องมั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ กำลังดำเนินไปอย่างเหมาะสม และมีการใช้เครื่องมือดีที่สุดในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์ความต้องการ, การจัดซื้อ, การผลิต, การจัดการสินค้าคลัง …